พฤติกรรมของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม เข้าใจและรับมือได้
ข้อมูลจากสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย พบว่าในประชากรผู้สูงอายุของประเทศไทย อาจมีผู้ที่มีปัญหาภาวะสมองเสื่อมได้ถึง 2% โรคสมองเสื่อม มีสาเหตุมาจากการที่เซลล์สมองถูกทำลาย ทำให้สมองไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงส่งผลให้เกิดปัญหาด้านพฤติกรรม อารมณ์ และจิตใจ ที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย
การดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมจึงจำเป็นต้องอาศัยทั้งความเข้าใจ ความเอาใจใส่ และความอดทน เพื่อให้สามารถให้การดูแลที่เหมาะสมและช่วยประคับประคองให้ผู้ป่วยมีชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข บทความนี้จะนำเสนอแนวทางการรับมือกับผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้คนที่คุณรักได้รับการดูแลอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
พฤติกรรมของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม
ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมจะมีพฤติกรรมที่เห็นได้ชัด ได้แก่ 1) พฤติกรรมก้าวร้าว 2) รู้สึกสับสน 3) ไม่สามารถคิดอย่างมีเหตุผล และ 4) ทำตามความต้องการของตนเอง อาการเหล่านี้จะพบได้ในผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมทุกระดับ อาจเป็นๆ หายๆ และสามารถเกิดซ้ำได้ทุกเมื่อ
1. พฤติกรรมก้าวร้าว
พฤติกรรมก้าวร้าวทางกายภาพและทางวาจามักพบได้บ่อยในผู้ป่วยสมองเสื่อมขั้นรุนแรง โดยผู้ป่วยอาจมีการใช้ความรุนแรงโดยไม่ได้ตั้งใจ เช่น การทุบตี ข่วน กัด ขว้างปาสิ่งของ หรือแม้กระทั่งการด่าทอและใช้คำพูดหยาบคายจนทำให้ผู้ดูแลรู้สึกไม่สบายใจ อย่างไรก็ตามพฤติกรรมก้าวร้าวที่ผู้ป่วยแสดงออกมานั้น อาจมาจากสาเหตุเหล่านี้:
- การดูแลด้านสุขภาพจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ พร้อมผู้ดูแลมืออาชีพตลอด 24 ชั่วโมง
- ได้รับการดูแลด้านโภชนาการ มั่นใจว่าจะได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและมีประโยชน์ต่อร่างกาย
- ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน เช่น สระว่ายน้ำ ฟิตเนส ห้องทำกิจกรรม และมักมีพื้นที่ภายนอกที่กว้างขวาง เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ผ่อนคลายและทำกิจกรรมภายนอกอาคาร
- อยู่ในสภาพแวดล้อมที่สะอาด ปลอดภัย มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุ เช่นรถเข็น ราวจับ ห้องนอนที่ออกแบบมาสำหรับผู้สูงอายุ
- มีบริการด้านสุขภาพเพิ่มเติม เช่น กายภาพบำบัด บริการ TMS
2. รู้สึกสับสน
ผู้ป่วยสมองเสื่อมมักมีอาการสับสนอยู่บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องวัน เวลา ฤดูกาล หรือสถานที่ ยกตัวอย่างเช่น รู้สึกอยากกลับบ้าน ทั้งๆ ที่อยู่ในบ้านของตนเอง หรือคิดว่าตนเองจะถูกทำร้ายโดยคนไม่รู้จัก พฤติกรรมสับสนมีสาเหตุดังนี้:
- การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม: หากคนที่คุณรักเพิ่งย้ายบ้านหรือเปลี่ยนสภาพแวดล้อม อาการเหล่านี้ก็สามารถเกิดขึ้นได้
- ภาวะประสาทหลอนและหวาดระแวง: การเปลี่ยนแปลงของสมองทำให้ผู้ป่วยสร้างความคิดและมีความเชื่อผิดๆ เช่น เห็นภาพและได้ยินเสียงของบุคคลที่เสียชีวิตไปแล้ว มีความคิดว่าผู้ดูแลจะขู่ทำร้าย หรือปักใจเชื่อว่าคู่สมรสนอกใจ
3. ไม่สามารถคิดอย่างมีเหตุผล
การขาดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณเป็นอีกหนึ่งอาการของโรคสมองเสื่อม ผู้ป่วยจะไม่สามารถพิจารณาไตร่ตรองถึงเหตุและผล ทำให้มีพฤติกรรมที่อาจส่งผลเสียต่อตนเอง เช่น ใช้จ่ายโดยไม่ยั้งคิด ไม่ยอมชำระหนี้ ไม่รักษาความสะอาดส่วนบุคคล
4. ทำตามความต้องการของตนเอง
ผู้ป่วยอาจสร้างเรื่องโกหกเพื่อให้ได้สิ่งที่ตัวเองต้องการ เช่น อ้างว่าตนเองได้รับอนุญาตให้ขับรถเมื่อถูกคนในครอบครัวจับได้ หรือสร้างเงื่อนไขต่อรอง เช่น จะยอมทานยาก็ต่อเมื่อคนในครอบครัวอนุญาตให้ตนเองขับรถ รวมถึงปฏิเสธการรับฟังเหตุผลของผู้อื่นและอาจระเบิดอารมณ์อย่างไม่มีเหตุผล
ให้เราช่วยดูแลคนที่คุณรัก โทรหาเราตอนนี้
แนวทางการรับมือกับพฤติกรรมของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม
การรับมือกับผู้ป่วยแบ่งออกได้เป็น 4 ด้าน ดังนี้
1. การรับมือพฤติกรรมก้าวร้าวและอาการต่อต้าน
เมื่อผู้ป่วยแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว การเข้าไปให้การดูแลหรือการพยายามทำให้ผู้ป่วยสงบลงจะยิ่งทำให้ผู้ป่วยต่อต้านและเแสดงพฤติกรรมรุนแรงมากกว่าเดิม ผู้ดูแลควรปล่อยให้ผู้ป่วยสงบสติอารมณ์ก่อนให้การช่วยเหลือ
สิ่งที่ควรทำ:
- หาสาเหตุและสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดพฤติกรรมก้าวร้าว
- หลีกเลี่ยงการให้ผู้ป่วยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมก้าวร้าว
- พูดคุยกับผู้ป่วยอย่างใจเย็นและสม่ำเสมอ
- ให้ผู้ป่วยได้ทำกิจกรรมที่ชื่นชอบและเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบตัว เพื่อคลายเครียด
สิ่งที่ไม่ควรทำ:
- ไม่ควรจับหรือควบคุมร่างกายเมื่อผู้ป่วยแสดงอาการก้าวร้าว
- ไม่ควรตอบโต้หรือโต้เถียงกับผู้ป่วย
- ห้ามเข้าหาผู้ป่วยจากด้านหลัง เพราะจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกตกใจกลัว
2. การรับมือพฤติกรรมสับสน
ผู้ป่วยมักมีพฤติกรรมพูดซ้ำๆ หรือถามคำถามเดิม เพราะอาจจำไม่ได้ว่าเคยถามไปแล้ว นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจมีอาการสับสนและลืมทำกิจวัตรประจำวันอยู่บ่อยครั้ง
สิ่งที่ควรทำ:
- พูดให้ช้าลงและสื่อสารกับผู้ป่วยโดยใช้คำพูดที่เข้าใจง่าย
- ให้ผู้ป่วยดูรูปภาพหรือสิ่งของ เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น
- ปฏิบัติต่อผู้ป่วยอย่างใจเย็น ไม่ใช้อารมณ์
สิ่งที่ไม่ควรทำ:
- หลีกเลี่ยงการอธิบายเรื่องซับซ้อน เพราะจะทำให้ผู้ป่วยยิ่งสับสน
- ถามคำถามที่ผู้ป่วยไม่สามารถตอบได้ เพราะจะทำให้ผู้ป่วยกล่าวโทษตัวเองว่าเป็นคนที่บกพร่อง
3. การช่วยเหลือเมื่อผู้ป่วยไม่สามารถคิดอย่างมีเหตุผล
เมื่อผู้ป่วยค่อยๆ สูญเสียความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผล ผู้ป่วยอาจจัดสรรเวลาได้ไม่ถูกต้องและไม่สามารถทำเรื่องซับซ้อน เช่น การไปพบแพทย์หรือการชำระหนี้ นอกจากนี้อาจมีพฤติกรรมชอบเก็บสะสมสิ่งของที่ไม่จำเป็น
สิ่งที่ควรทำ:
- รับฟังความคิดและพูดคุยกับผู้ป่วยเป็นประจำ เพื่อให้ผู้ป่วยเปิดใจรับการช่วยเหลือ
- จดรายการกิจวัตรประจำวัน เพื่อช่วยเตือนความจำให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมต่างๆ
สิ่งที่ไม่ควรทำ:
- ใช้อารมณ์ในการพูดคุยกับผู้ป่วย
- โต้เถียงหรือพยายามเอาชนะผู้ป่วย
4. การรับมือกับผู้ป่วยที่ชอบทำตามความต้องการของตนเอง
ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมอาจโกหกบ่อยขึ้นจนเหมือนเปลี่ยนเป็นคนละคน แต่ในความเป็นจริงคนที่มีภาวะสมองเสื่อมอาจไม่รู้ตัวว่ากำลังโกหก
สิ่งที่ควรทำ:
- เข้าใจว่าผู้ป่วยไม่ได้ตั้งใจโกหก แต่เป็นอาการของโรค
- ผู้ดูแลควรรู้เท่าทันอารมณ์และความรู้สึกของตัวเอง
สิ่งที่ไม่ควรทำ:
- ใช้อารมณ์ในการพูดคุยกับผู้ป่วย
- โต้เถียงหรือพยายามเอาชนะผู้ป่วย
ศูนย์ดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม บ้านลลิสา เราดูแลคนที่คุณรักด้วยความใส่ใจ
ศูนย์ดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม บ้านลลิสา ให้การดูแลคนที่คุณรักด้วยทีมแพทย์และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญด้านโรคสมองเสื่อม พร้อมทีมผู้ดูแลมากประสบการณ์ตลอด 24 ชม. เพื่อให้คนที่คุณรักใช้ชีวิตอย่างมีความสุขและผ่อนคลายภายในศูนย์ที่อยู่ใกล้ชิดธรรมชาติ ทางศูนย์มีบริการรักษาด้วยเทคโนโลยี TMS ที่มีประสิทธิภาพในการชะลออาการของโรค พร้อมทั้งมีการจัดกิจกรรมนันทนาการเพื่อส่งเสริมการเข้าสังคม ติดต่อผู้เชี่ยวชาญของบ้านลลิสาและเลือกการดูแลที่ดีที่สุดให้กับคนที่คุณรัก