การดูแลแผลกดทับในผู้ป่วยติดเตียง
เมื่อพูดถึงแผลกดทับมักพบเจอบ่อยในผู้ป่วยที่มีข้อจำกัดการเคลื่อนไหว ผู้ป่วยติดเตียง แผลกดทับเกิดขึ้นจากการได้รับบาดเจ็บบริเวณผิวหนังหรือเนื้อเยื่อที่โดนแรงกดและแรงเฉือนจากการนั่ง รถเข็น การนอนติดเตียง หรือการสวมใส่เฝือกเป็นเวลานาน การดูแลผู้ป่วยนับเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เกิดปัญหาร้ายแรงจากแผลกดทับ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่มีร่างกายที่อ่อนแอ หากผู้ป่วยติดเตียงถูกจัดอยู่ในท่าที่ไม่ถูกต้อง ถูกพลิกตัวบ่อยครั้ง ได้รับโภชนาการที่ไม่ดีหรือครีมบำรุงผิวที่ไม่เหมาะสม อาจก่อให้เกิดแผลกดทับได้ ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงในเกิดการแผลกดทับ ได้แก่ ผู้ที่มีปัญหาการรับรู้ทางประสาทสัมผัส การไหลเวียนโลหิต โรคเบาหวาน และโรคขาดสารอาหาร
สาเหตุ
แผลกดทับมีโอกาสที่จะกลายเป็นแผลกดทับลึกสู่กล้ามเนื้อและกระดูก การรักษาแผลกดทับอาจใช้ระยะเวลานาน ขึ้นอยู่หลายปัจจัย ได้แก่ สภาพร่างกายของผู้ป่วย ความรุนแรงของแผลกดทับและโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน การรักษาอาจใช้เวลาเป็นเดือนหรือปีเพื่อให้แผลกดทับหายอย่างสมบูรณ์ ในบางกรณี ผู้ป่วยอาจต้องพึ่งพาการผ่าตัดอีกด้วย
สาเหตุหลักของการเกิดแผลกดทับมีดังนี้
- แรงกดทับ (Pressure)
- แรงเสียดสี (Friction)
- แรงเฉือน (Shear)
การใช้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการดูแลระยะสั้น เพื่อให้มั่นใจว่าผู้สูงอายุจะได้ใช้ชีวิตอย่างปลอดภัย ไปพร้อมกับการดูแลสุขภาพภายในสภาพแวดล้อมที่คุ้นเคย
อาการของแผลกดทับ
ระยะที่ 1 – แผลกดทับระยะนี้ผิวหนังบริเวณแผลมีลักษณะเป็นรอยแดงและอุ่น ผู้ป่วยอาจรู้สึกเจ็บแสบและระคายเคือง ส่วนผู้ที่มีผิวสีเข้มอาจมีรอยสีเขียวอมม่วง
ระยะที่ 2 – แผลกดทับระยะนี้มีแผลตุ่มน้ำพองหรือเป็นแผลเปิด บริเวณแผลอาจเปลี่ยนสี ผิวหนังหลุดลอก ส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บมากยิ่งขึ้น
ระยะที่ 3 – แผลกดทับระยะนี้จะมีลักษณะเป็นแผลโพรงลึก เนื่องจากเนื้อเยื่อใต้ชั้นผิวหนังถูกทำลาย
ระยะที่ 4 – แผลกดทับระยะนี้ผิวหนังถูกทำลายร้ายแรงที่สุด รวมทั้งเส้นเอ็น กล้ามเนื้อ ข้อต่อ และกระดูกยังถูกทำลายด้วย เป็นระยะที่มีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อสูง
ตำแหน่งที่มักเกิดแผลกดทับ
สำหรับผู้ป่วยติดรถเข็น ตำแหน่งที่มักเกิดแผลกดทับมีดังนี้
- บริเวณก้น ก้นกบ
- กระดูกสันหลัง หัวไหล่
- บริเวณน่อง ข้อศอก
สำหรับผู้ป่วยติดเตียง ตำแหน่งที่มักเกิดแผลกดทับมีดังนี้
- หัวไหล่
- ด้านหลังของศรีษะและหู ด้านข้างของศรีษะ
- ข้อเท้า ส้นเท้า ข้อพับเข่า
- ก้นกบ สะโพก หลังส่วนล่างและก้น
ให้เราช่วยดูแลคนที่คุณรัก โทรหาเราตอนนี้
ภาวะแทรกซ้อนจากแผลกดทับ
ผู้ป่วยที่เกิดแผลกดทับอาจประสบภาวะแทรกซ้อนซึ่งอันตรายถึงชีวิตในรูปแบบต่างๆ ได้แก่
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุเหมาะสำหรับใคร
- เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ
- ติดเชื้อที่กระดูกและข้อต่อ
- ติดเชื้อในกระแสเลือด
- มะเร็ง
ผู้ป่วยที่แผลกดทับมีภาวะติดเชื้อจะส่งผลให้มีไข้และหนาวสั่น ภาวะนี้เชื้อจะแพร่ไปทั่วร่างกาย ส่งผลให้อัตราการเต้นของหัวใจสูงขึ้น สภาวะร่างกายอ่อนแอและมีอาการมึนหัว
การรักษาแผลกดทับ
หลังจากที่ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยแผลกดทับโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ การดูแลรักษาจะขึ้นอยู่กับระยะของอาการที่เป็น ยิ่งผิวหนังถูกทำลายมากเท่าไหร่ การรักษายิ่งยากขึ้นเท่านั้น การรักษาแผลกดทับมีวิธีดังนี้
- ลดแรงกดทับบริเวณแผลกดทับ
- พันแผลด้วยผ้ากอซยา
- ควบคุมภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
- ใส่ใจโภชนาการ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
- ดูแลรักษาความสะอาดของผิวหนัง
- ทาครีม
- ผ่าตัดเนื้อเยื่อตาย
- ทำแผลโดยวิธีสุญญากาศ
- ปลูกถ่ายผิวหนัง
- รักษาด้วยยาปฏิชีวนะ
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะจดบันทึกขนาดและความลึกของแผลกดทับ รวมถึงการตอบสนองของผู้ป่วยต่อการรักษา
การป้องกันแผลกดทับ
การป้องกันการเกิดแผลกดทับไม่ใช่เรื่องง่ายๆแม้จะอยู่ในความดูแลของพยาบาลและการรักษาทางการแพทย์ก็ตาม อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการป้องกันแผลกดทับจะไม่ง่ายเลยแต่ก็ถือว่าง่ายกว่าการรักษาเป็นอย่างมาก
ข้อแนะนำเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดแผลกดทับ ได้แก่
- การสำรวจผิวหนังประจำวัน
- ทำความสะอาดผิวและเช็ดให้แห้ง
- ปรับเปลี่ยนท่าทางผู้ป่วยที่ต้องนั่งรถเข็นหรือผู้ป่วยติดเตียงทุกๆ 2 ชั่วโมง
- ทำกายภาพบำบัดโดยมีผู้ช่วยเพื่อให้โลหิตไหลเวียนได้ดีขึ้น
- ดูแลเรื่องโภชนาการ รับสารอาหารที่มีประโยชน์เพื่อร่างกายที่แข็งแรงและช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น
- ใช้เบาะรองนั่งหรือรองนอนเพื่อลดแรงกดทับ
เลือกการดูแลที่ดีที่สุดให้กับคนที่คุณรัก ที่ศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียง บ้านลลิสา
เมื่อไหร่ก็ตามที่ผู้ป่วยมีสัญญาณที่จะประสบปัญหาแผลกดทับ คนในครอบครัวจำเป็นต้องรีบแจ้งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยทันที ผู้ป่วยจะได้รับคำแนะนำข้อปฏิบัติเพื่อช่วยลดโอกาสการเกิดแผลกดทับเมื่อได้เข้าพบนักกายภาพบำบัด ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ และ ศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียง บ้านลลิสา ใกล้บ้านท่าน เรายินดีให้บริการผู้ป่วยด้วยบริการแบบครบวงจรจากทีมพยาบาลผู้เชี่ยวชาญตลอด 24 ชั่วโมง ติดต่อเราตอนนี้ เพื่อรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ