10 วิธีดูแลและอยู่ร่วมกับผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์อย่างมีความสุข

การดูแลรักษาสุขภาพร่างกายและจิตใจของผู้ดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน

โรคอัลไซเมอร์เป็นโรคสมองเสื่อมชนิดหนึ่ง มีสาเหตุมาจากเซลล์สมองถูกทำลาย ทำให้สมองไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยอาการของโรคจะค่อยๆ เพิ่มความรุนแรงขึ้น เริ่มจากการสูญเสียความทรงจำระยะสั้นรวมถึงไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆได้ ซึ่งผู้ป่วยอาจมีอารมณ์แปรปรวน ประสาทหลอน และมีพฤติกรรมก้าวร้าว โดยอาการเหล่านี้จะคอยรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน เป็นเหตุให้การเดิน การพูด การรับประทานอาหารเป็นไปอย่างยากลำบาก อีกทั้งยังส่งผลกระทบโดยตรงต่อครอบครัวและคนรอบข้างที่คอยให้การดูแลอย่างใกล้ชิด

จากข้อมูลของสถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ พบว่า ผู้สูงอายุชาวไทยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวนกว่า 10% มีอาการสมองเสื่อม และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อันเนื่องมาจากการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ รวมถึงในปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคอัลไซเมอร์ให้หายขาด การดูแลผู้ป่วยจึงเป็นเพียงการประคับประคองตามอาการอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นคนในครอบครัวและผู้ดูแลจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดูแลรักษาสุขภาพร่างกายและจิตใจของตนเองควบคู่กันไปด้วย เพื่อไม่ให้เกิดความเครียดที่อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา

ในบทความนี้ เราได้รวบรวม 10 วิธีการใช้ชีวิตร่วมกับผู้ป่วยอัลไซเมอร์อย่างมีความสุข เพื่อให้คนในครอบครัวและผู้ดูแลมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

1. วางแผนการดูแลผู้ป่วย

คนในครอบครัวและผู้ดูแลควรมีการวางแผนการดูแลผู้ป่วยร่วมกับแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลผู้สูงอายุในระยะยาว เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ป่วยจะได้รับการดูแลที่ถูกต้องเมื่ออยู่ที่บ้าน รวมถึงมีการวางแผนการดูแลที่ครอบคลุม ไม่ว่าจะเป็นด้านการเงิน การปรับปรุงที่อยู่อาศัย การอำนวยความสะดวก และสร้างสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับผู้ป่วย

2. แบ่งหน้าที่ในการดูแลผู้ป่วย

นอกจากการวางแผนการดูแลผู้ป่วยกับผู้เชี่ยวชาญแล้ว สมาชิกในครอบครัวและผู้ดูแลจะต้องคำนึงถึงความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยของตนเอง ควรมีการแบ่งหน้าที่ในการดูแลผู้ป่วยอย่างเหมาะสม ไม่ควรมอบหมายหน้าที่ให้ใครคนใดคนหนึ่งดูแลผู้ป่วยตลอดเวลา โดยไม่มีการหยุดพัก เนื่องจากอาจก่อให้เกิดความเครียดสะสม ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจของผู้ดูแลได้

3. ให้ความรักแก่ผู้ป่วย

แม้ว่าคนที่คุณรักอาจมีอาการทรุดลงอย่างต่อเนื่อง จนทำให้ไม่สามารถจดจำเรื่องราวอดีต รวมถึงสูญเสียความสามารถในการคิดและการตัดสินใจ แต่คนในครอบครัวและผู้ดูแลควรพึงระลึกอยู่เสมอว่าคนที่คุณรักยังอยู่ใกล้ๆ และยังต้องการความรักและการดูแล ดังนั้นการแสดงความรัก ความห่วงใย ด้วยการจับมือ การกอด และการพูดคุย จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้กำลังใจซึ่งกันและกัน

4. หลีกเลี่ยงการโต้เถียงและการอธิบายที่ยืดยาว

ความยากลำบากในการสื่อสารระหว่างผู้ดูแลกับผู้ป่วย มักสร้างความรำคาญใจให้ทั้งสองฝ่าย จนในบางครั้งอาจนำไปสู่การโต้เถียงกันในที่สุด ทางออกที่ดีที่สุดคือการยอมรับฟังผู้ป่วย ถึงแม้ว่าจะผู้ป่วยจะเป็นฝ่ายผิดก็ตาม รวมถึงหลีกเลี่ยงคำพูดหรือพฤติกรรมที่ส่งผลกระทบต่ออารมณ์ของผู้ป่วย เพราะความรู้สึกด้านลบการไม่เข้าใจกันจะยิ่งทำให้การดูแลเป็นไปอย่างยากลำบากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังควรหลีกเลี่ยงการอธิบายที่ยืดยาว แต่ควรเลือกใช้คำพูดที่เข้าใจง่าย ชัดเจน ไม่ซับซ้อน เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้น

5. อย่าแบกรับภาระหนักไว้คนเดียว

ครอบครัวและผู้ดูแลไม่จำเป็นต้องให้การดูแลผู้ป่วยและทำทุกอย่างด้วยตัวเองเสมอไป คุณสามารถเรียกใช้บริการภายนอกอื่นๆ เช่น บริการทำความสะอาด บริการดูแลวันต่อวัน เพื่อลดภาระหน้าที่ให้เบาลงมากที่สุด

6. เรียนรู้เกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์ให้มากขึ้น

เนื่องจากอาการของโรคอัลไซเมอร์ไม่ได้เป็นเพียงการสูญเสียความทรงจำ แต่เป็นความผิดปกติของสมองที่ส่งผลต่อความรู้สึกนึกคิด ความสามารถในการสื่อสาร และในบางรายอาจมีอาการทางจิตเวชร่วมด้วย สมาชิกในครอบครัวและผู้ดูแลควรเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์ให้มากขึ้น โดยสามารถทำได้ด้วยการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงการหาข้อมูลและเรียนรู้ด้วยตัวเอง เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องและการดูแลผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ

7. ให้เวลาตัวเองได้ผ่อนคลาย

การอยู่ร่วมกับผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานอาจก่อให้เกิดความเครียดได้ การผ่อนคลายจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้ผู้ดูแลมีเวลาดูแลสุขภาพกายและจิตใจของตัวเอง เพื่อให้สามารถดูแลเอาใจใส่ผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ

8. ใช้บริการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน

การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ด้วยตัวเองอาจทำได้ไม่เต็มที่เนื่องจากผู้ดูแลต้องเผชิญกับความเหนื่อยล้าทั้งร่างกายและจิตใจ การจ้างผู้ดูแลชั่วคราวจะช่วยแบ่งเบาภาระ เพื่อให้คุณสามารถมีเวลาส่วนตัวเพื่อการพักผ่อนและการทำกิจกรรมอื่นๆได้อย่างเต็มที่

9. ทำกิจกรรมกับคนที่คุณรัก

ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ในระยะแรกเริ่มจะยังสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ คนในครอบครัวจึงควรหากิจกรรมที่สามารถทำร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น การเดินออกกำลังกายเป็นประจำทุกวัน เพื่อสุขภาพร่างกายและจิตใจที่แข็งแรง รวมถึงกิจกรรมอื่นๆ อย่างการฟังเพลง และการเล่าเรื่องราวที่สนใจ จะช่วยชะลอการเสื่อมของสมอง และสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้ดูแลและผู้ป่วยได้อีกด้วย

10. วางแผนการดูแลผู้ป่วยสำหรับอนาคต

การวางแผนสำหรับอนาคตเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้รับมือกับเรื่องต่างๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ควรมีการปรึกษากับคนในครอบครัวเกี่ยวกับความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยที่บ้านในระยะยาว หรือใช้บริการศูนย์ดูแลผู้ป่วยเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง นอกจากนี้ควรขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อการวางแผนทางการเงินในระยะยาวสำหรับการดูแลผู้ป่วยรวมถึงการเตรียมรับมือกับเหตุฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นได้

“ให้เราช่วยดูแลคนที่คุณรัก โทรหาเราตอนนี้”

เลือกการดูแลที่ดีที่สุดให้กับคนที่คุณรัก ที่บ้านลลิสา ศูนย์ดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์

ศูนย์ดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ บ้านลลิสา พร้อมให้บริการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์แบบครบวงจรที่แรกที่เดียวในประเทศไทย

การดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์จะต้องอาศัยเวลาและการเอาใจใส่ในการดูแลแก่ผู้ป่วยเป็นอย่างมาก จนอาจทำให้ครอบครัวและผู้ดูแลไม่สามารถดูแลสุขภาพของตัวเองได้อย่างเต็มที่ และไม่สามารถมอบการดูแลที่เหมาะสมให้กับคนที่คุณรัก ที่ศูนย์ดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ บ้านลลิสา เราให้การดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยตลอด 24 ชั่วโมง ด้วยทีมแพทย์และทีมพยาบาลผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้คุณมั่นใจในความปลอดภัยและมาตรฐานในการบริการ นอกจากนี้ เรายังให้การดูแลด้านอาหาร และจัดกิจกรรมนันทนาการต่างๆ เพื่อให้ผู้ป่วยได้เข้าสังคม พร้อมทั้งให้บริการกายภาพบำบัดภายในศูนย์โดยนักกายภาพบำบัด เพื่อเพิ่มความแข็งแรงและทำให้ผู้ป่วยได้ใช้ชีวิตที่มีคุณภาพ อีกทั้งมีการใช้นวัตกรรมการรักษาด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า TMS ที่จะช่วยชะลออาการของโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญของเราตอนนี้ และเลือกการดูแลที่ดีที่สุดให้กับคนที่คุณรัก