รู้จัก “HOARDING DISORDER” โรคชอบเก็บสะสมสิ่งของที่มักพบได้ในวัยสูงอายุ

มาทำความรู้จักกับโรคชอบเก็บสะสมของที่มักพบได้ในผู้สูงอายุจากบทความนี้

การชอบเก็บสะสมสิ่งของ หรือไม่กล้าทิ้งของเก่า อาจเป็นเหมือนเรื่องปกติที่มักเกิดขึ้นในวัยผู้สูงอายุ แต่หากพฤติกรรมเหล่านี้เริ่มสร้างปัญหาหรือส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน อาจเป็นสัญญาณเตือนของ “โรคชอบเก็บสะสมสิ่งของ” ในบทความนี้จะช่วยให้คุณมีความเข้าใจเกี่ยวกับอาการของโรค รวมถึงข้อบ่งชี้ และแนวทางการป้องกันและแก้ไขโรคชอบเก็บสะสมสิ่งของในผู้สูงอายุได้ดียิ่งขึ้น

HOARDING DISORDER หรือ โรคเก็บสะสมสิ่งของคืออะไร

สมาคมจิตเวชศาสตร์ในสหรัฐอเมริกาหรือ American Psychiatric Association ได้ให้คำนิยามถึงโรคชอบเก็บสะสมสิ่งของว่า “เป็นการเก็บสะสมสิ่งของที่ผู้อื่นมองว่าไม่มีค่าไว้มากเกินไป” โดยผู้ที่มีอาการดังกล่าวจะไม่สามารถตัดใจทิ้งสิ่งของที่เก็บสะสมเอาไว้ได้ โดยเชื่อว่าของเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ในอนาคต จนส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน ทำให้บ้านหรือที่ทำงานเต็มไปด้วยสิ่งของที่ไม่จำเป็น อย่างไรก็ตามผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีพฤติกรรมแตกต่างจากนักสะสม เนื่องจากจะเก็บแต่สิ่งของทั่วไปที่ไม่ได้หายากหรือมีราคา และไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น หนังสือพิมพ์เก่า นิตยสารเก่า กล่องพัสดุ ขวดน้ำ เป็นต้น

ผู้ที่มีอาการของโรคชอบเก็บสะสมสิ่งของมีจำนวนประมาณร้อยละ 2-6 ของประชากรบนโลก และส่วนใหญ่มักพบได้ในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุระหว่าง 55-94 ปี

อาการของโรคที่สังเกตเห็นได้ชัดมีดังนี้

  • ตัดใจทิ้งสิ่งของไม่ได้ถึงแม้ว่าสิ่งของนั้นจะไม่มีประโยชน์และความจำเป็นจะต้องใช้
  • ชอบเก็บสิ่งของที่ไม่สำคัญเช่น หนังสือพิมพ์ จดหมายเก่า หรือนิตยสารเก่า
  • มีความต้องการอยากเก็บสะสมสิ่งของ
  • รู้สึกทุกข์ทนเมื่อต้องทิ้งสิ่งของ
  • วางสิ่งของตามทางเดินในบ้านจนไม่เหลือพื้นที่ใช้สอย
  • ที่อยู่อาศัยไม่สะอาด หรือมีสิ่งสกปรกที่อาจก่อให้เกิดการสะสมของเชื้อโรค
  • ยึดติดว่าของทุกชิ้นเป็นของสำคัญ
  • ไม่อยากพบปะผู้คน
  • เสพติดการซื้อของ
  • ชอบอยู่ในที่มืด

สาเหตุของโรคชอบเก็บสะสมสิ่งของ

แม้ว่าโรคดังกล่าวยังไม่มีข้อมูลและสาเหตุที่แน่ชัด แต่จากการศึกษาพบว่ามีพฤติกรรมและอาการบางอย่างที่กระตุ้นให้เกิดโรคเก็บสะสมสิ่งของในผู้สูงอายุ ได้แก่

  • โรคย้ำคิดย้ำทำ หรือ Obsessive-Compulsive Disorder (OCD)
  • โรควิตกกังวล
  • อาการผิดปกติทางบุคลิกภาพ
  • โรคซึมเศร้า
  • พฤติกรรมเสพติดต่างๆ
  • โรค PTSD หรือ Post-Traumatic Stress Disorder
  • ภาวะสูญเสียที่รุนแรง
  • โรคชราที่ส่งผลให้ขยับร่างกายไม่ได้
  • โรคสมองเสื่อม
  • โรคจิตเภท
  • โรคกลัวการเข้าสังคม

พฤติกรรมและอาการข้างต้นเป็นเพียงสิ่งกระตุ้นให้เกิดโรคชอบเก็บสะสมสิ่งของ อย่างไรก็ตามโรคนี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับวัยสูงอายุเพียงอย่างเดียวอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่อาจเกิดขึ้นได้ในวัยเด็กหรือวัยรุ่น หากผู้ป่วยมีประวัติเผชิญกับเหตุการณ์กระทบกระเทือนจิตใจอย่างรุนแรง เมื่อเวลาผ่านไปผู้ป่วยจะแสดงอาการและมีพฤติกรรมชัดเจนมากขึ้น สังเกตได้จากสิ่งของที่เก็บสะสมไว้เริ่มมีมากเกินความจำเป็น

“ให้เราช่วยดูแลคนที่คุณรัก โทรหาเราตอนนี้”

แนวทางการให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุที่เป็นโรคชอบเก็บสะสมสิ่งของ

โรคชอบเก็บสะสมสิ่งของจะส่งผลกระทบต่อทั้งสุขภาพร่างกายและจิตใจของคนที่คุณรัก โดยคนในครอบครัวสามารถให้การช่วยเหลือผู้สูงอายุที่เป็นโรคชอบเก็บสะสมสิ่งของได้ตามแนวทางดังนี้

  1. ทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคและผู้ป่วย สิ่งแรกที่คนในครอบครัวจะต้องทำคือการทำความเข้าใจว่าโรคนี้เกิดจากความผิดปกติทางความสมอง เป็นเหตุให้ผู้ป่วยไม่สามารถตัดใจทิ้งสิ่งของได้ และเป็นปัญหาเรื้อรังที่ต้องได้รับการแก้ไข ไม่ใช่แค่เพียงการทำความสะอาดที่อยู่อาศัยเท่านั้น แต่จะต้องมีการพูดคุยเพื่อปรับความเข้าใจกับผู้ป่วย โดยผู้พูดจะต้องเลือกใช้คำพูดอย่างระมัดระวัง หลีกเลี่ยงการตำหนิติเตียน เพื่อไม่ให้เกิดการกระทบกระทั่งหรือความขัดแย้งระหว่างกัน เพราะจะทำให้ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกด้านลบ ปิดกั้นการรับฟัง และไม่ยอมรับความช่วยเหลือ
  2. อยู่เคียงข้าง ผู้ที่มีอาการของโรคดังกล่าวมักจะเก็บตัวและไม่อยากพบปะผู้คน ดังนั้นครอบครัวจึงเป็นกำลังใจสำคัญ ที่จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้ป่วยว่าจะไม่ถูกทอดทิ้งให้อยู่เพียงลำพัง ควรทำกิจกรรมร่วมกันและใช้เวลาด้วยกันให้มากขึ้นเพื่อให้ผู้ป่วยเปิดใจรับฟังและยอมรับความช่วยเหลือในอนาคต
  3. เริ่มลงมือทำจากสิ่งเล็กๆ การจัดการทำความสะอาดบ้านหรือห้องของผู้สูงอายุในทันทีอาจไม่ใช่วิธีการที่ดีเท่าไรนัก เพราะหากผู้สูงอายุไม่เห็นด้วยหรือไม่ให้ความยินยอม ก็อาจเกิดความขัดแย้งได้ เมื่อผู้สูงอายุเริ่มเปิดใจรับความช่วยเหลือแล้ว คนในครอบครัวควรเริ่มจากการจัดระเบียบสิ่งเล็กๆ เช่น ชั้นวางของ ลิ้นชัก หรือโต๊ะอาหาร พยายามโน้มน้าวให้ผู้ป่วยปล่อยวางและตัดใจทิ้งสิ่งของที่ไม่จำเป็น นอกจากนี้ควรกล่าวชื่นชมและให้กำลังใจเมื่อผู้ป่วยทำสำเร็จ จากนั้นจึงค่อยๆ ขยับไปจัดระเบียบห้องที่ใหญ่ขึ้น
  4. ให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วม ผู้สูงอายุมักเกิดความไม่ไว้วางใจและมีความวิตกกังวลว่าผู้อื่นจะทำให้สิ่งของที่ตนเก็บรักษาไว้เสียหาย คนในครอบครัวควรส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในขั้นตอนการเก็บกวาดและทำความสะอาด มีการสอบถามถึงความคิดเห็นหรือความพึงพอใจของผู้สูงอายุอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรจัดการเก็บกวาดสิ่งของให้โดยไม่บอกกล่าว เนื่องจากจะทำให้ผู้สูงอายุเกิดความรู้สึกโกรธ ขุ่นเคือง หรือถูกก้าวก่ายความเป็นส่วนตัว ซึ่งอาจไปนำสู่ภาวะเครียดและปัญหาด้านสุขภาพจิตในที่สุด
  5. ปรึกษาจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หากคนในครอบครัวพยายามอย่างเต็มที่แล้วยังไม่ได้ผล หรือผู้ป่วยมีอาการแย่ลง ควรปรึกษาจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้คนที่คุณรักได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกวิธี โดยโรคนี้จะสามารถรักษาให้อาการดีขึ้นได้ด้วย 2 วิธี ได้แก่
    1. การใช้ยาเพื่อลดความเครียดและความหมกมุ่นในการสะสมของ
    2. การทำพฤติกรรมบำบัด โดยเป็นมุ่งเน้นการฝึกทักษะการตัดสินใจให้ผู้ป่วยสามารถจัดการทิ้งสิ่งของที่ไม่จำเป็นได้อย่างมีเหตุผลยิ่งขึ้น

บริการดูแลผู้สูงอายุช่วยได้อย่างไร?

การมีพยาบาลหรือผู้ดูแลคอยให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีอาการโรคชอบเก็บสะสมสิ่งของจะช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ป้องกันการเก็บสิ่งของที่อาจเป็นอันตราย รวมถึงให้ความช่วยเหลือครอบครัวในการแก้ไขและรักษาโรค

บริการดูแลผู้สูงอายุ บ้านลลิสา ให้เราช่วยเหลือคนที่คุณรัก

บริการดูแลผู้สูงอายุบ้านลลิสา ที่ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุบ้านลลิสา

บริการดูแลผู้สูงอายุ บ้านลลิสา ให้บริการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยด้วยบุคลากรมืออาชีพ โดยสามารถให้บริการทั้งแบบไป-กลับ หรือเข้าพักฟื้นฟูที่ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุของเรา คุณจึงสามารถมั่นใจได้ว่าคนที่คุณรักจะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีความปลอดภัย เรามุ่งเน้นการดูแลแบบองค์รวมที่ใส่ใจทั้งสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตใจของคนที่คุณรัก ทีมงานมากประสบการณ์จะร่วมวางแผนการดูแลกับครอบครัวของท่าน เพื่อให้คนที่คุณรักได้บริการดูแลที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ติดต่อผู้เชี่ยวชาญของเราวันนี้ เพื่อรับข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนการเข้ารับการฟื้นฟูที่ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุของเรา