ผู้ดูแลควรรับมืออย่างไร? เมื่อผู้สูงอายุไม่พูดความจริงกับแพทย์

เมื่อก้าวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจอาจทำให้ผู้สูงอายุมีโรคประจำตัว และต้องเข้าพบแพทย์บ่อยขึ้น การพบแพทย์จึงไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่นัก แต่ในบางครั้งผู้ดูแลอาจต้องเผชิญกับเหตุการณ์ที่ผู้สูงอายุพยายามหลีกเลี่ยงการให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ถึงแม้ว่าจะเคยพบแพทย์มาก่อนแล้วก็ตาม ผู้สูงอายุอาจแสดงพฤติกรรมที่แปลกไปหรือมีบุคลิกแตกต่างไปจากเดิม รวมถึงอาจยืนยันกับแพทย์ว่าตนเองมีสุขภาพแข็งแรงดี ไม่มีอาการเจ็บป่วยใดๆ แม้ว่าจะแสดงอาการป่วยตลอดเวลาเมื่ออยู่ที่บ้าน

ดังนั้น เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการวินิจฉัยและรักษาโรค ผู้ดูแลจะต้องคอยให้ความช่วยเหลือและพูดคุยกับแพทย์เพื่อให้แพทย์ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องมากที่สุด โดยไม่ทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกอับอายหรือเสียความมั่นใจในตัวเอง

ทำไมผู้สูงอายุถึงต้องโกหกแพทย์

พฤติกรรมโกหกที่ผู้สูงอายุแสดงออกเมื่อพบแพทย์อาจดูเหมือนผู้สูงอายุกำลัง ‘เล่นละคร’ แต่แท้จริงแล้ว ผู้สูงอายุแสดงพฤติกรรมเหล่านี้ เพราะรู้สึกกลัว อับอาย และความรู้สึกต่อต้าน เมื่อต้องเล่าถึงปัญหาด้านสุขภาพ นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมก็สามารถแสดงพฤติกรรม ‘เล่นละคร’ ได้เช่นกัน เมื่อต้องพูดคุยกับแพทย์ สาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุไม่พูดความจริง มีดังนี้

ความรู้สึกกลัว

ความกลัวเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้สูงอายุหลีกเลี่ยงการให้ข้อมูลกับแพทย์ เพราะเกรงว่าแพทย์อาจตรวจพบโรคหรืออาการแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น โรคหัวใจ มะเร็ง โรคเบาหวาน หรือโรคสมองเสื่อม อีกทั้งหากตรวจพบว่ามีโรคเพิ่มเติม ผู้สูงอายุมักมีความกังวลว่าจะต้องสูญเสียความเป็นอิสระ จึงเลือกที่จะปิดบังความจริงและแสดงพฤติกรรมหรือแจ้งว่าตนเองไม่มีความผิดปกติ

ความรู้สึกอับอาย

จากงานวิจัยพบว่าผู้คนในทุกช่วงวัยจะรู้สึกลังเล เมื่อต้องเล่าอาการเจ็บป่วยของตนเองให้แพทย์ฟัง เนื่องจากมีรู้สึกอับอายและกลัวว่าจะไม่ได้รับการยอมรับจากแพทย์ หลายคนจึงเลือกที่จะบอกข้อมูลเพียงบางส่วนหรืออาจสร้างเรื่องโกหกเพื่อป้องกันตัวเอง เช่นเดียวกันกับผู้สูงอายุที่ไม่ยอมบอกข้อมูลที่เป็นจริงให้กับแพทย์ เพราะการเจ็บป่วยทำให้ตนเองรู้สึกด้อยค่า อับอาย และกลัวไม่ได้รับการยอมรับ

ความรู้สึกต่อต้าน

ผู้สูงอายุที่เคยมีอิสระ หรือเคยมีความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆ เมื่ออายุมากขึ้น อาจไม่อยากยอมรับอาการเจ็บป่วยทางร่างกายหรือจิตใจ ทำให้เกิดความรู้สึกต่อต้าน และไม่บอกความจริงให้กับแพทย์ และจะยิ่งส่งผลให้อาการแย่ลงเรื่อยๆ

อาการของโรคสมองเสื่อม

นอกจากสาเหตุที่กล่าวมาข้างต้น ผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมอาจโกหกแพทย์และแสดงว่าตนเองมีสุขภาพปกติดีได้เช่นกัน เนื่องจากความผิดปกติของสมองทำให้ผู้สูงอายุที่เป็นโรคอัลไซเมอร์หรือภาวะสมองเสื่อมประเภทอื่นๆ ไม่สามารถรับรู้ถึงความบกพร่องในความทรงจำ สูญเสียความสามารถในการตัดสินใจ และอารมณ์แปรปรวน เมื่อต้องพูดคุยกับแพทย์ ผู้ป่วยจึงมักจะเชื่อว่าตนเองไม่ได้มีปัญหาด้านสุขภาพหรือมีอาการผิดปกติใดๆ

“ให้เราช่วยดูแลคนที่คุณรัก โทรหาเราตอนนี้”

วิธีรับมือสำหรับผู้ดูแล

ผู้ดูแลหรือคนในครอบครัวมีบทบาทสำคัญในการพูดคุยกับแพทย์ ตั้งแต่การนัดหมาย ตลอดจนการให้ข้อมูลที่ถูกต้อง เพื่อให้แพทย์สามารถวินิจฉัยและให้การดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุได้มากที่สุด ซึ่งวิธีการมีดังต่อไปนี้

  1. พูดคุยกับผู้สูงอายุ ผู้ดูแลควรพูดคุยกับผู้สูงอายุก่อนพาไปพบแพทย์ พยายามโน้มน้าวให้ผู้สูงอายุอธิบายอาการเจ็บป่วยของตนเองกับแพทย์โดยละเอียดมากที่สุด รวมถึงเน้นย้ำว่าแพทย์เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ สามารถให้การช่วยเหลือและรักษาโรคได้อย่างถูกต้อง
  2. สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้สูงอายุ ผู้ดูแลควรสอบถามถึงความกังวลของผู้สูงอายุก่อนเข้าพบแพทย์ รวมถึงบอกผู้สูงอายุว่าตนมีเจตนาช่วยเหลือ เพื่อสร้างความไว้วางใจให้ผู้สูงอายุเปิดใจพูดคุยกับแพทย์มากขึ้น อย่างไรก็ตามวิธีนี้ก็อาจไม่สำเร็จเสมอไป เนื่องจากต้องอาศัยเวลาและความร่วมมือจากผู้สูงอายุเป็นสิ่งสำคัญ
  3. แจ้งให้แพทย์ทราบล่วงหน้าเกี่ยวกับอาการของผู้สูงอายุ หากผู้สูงอายุที่อยู่ในการดูแลเคยหลีกเลี่ยงการพูดความจริงหรือไม่ให้ข้อมูลกับแพทย์มาก่อน ผู้ดูแลควรแจ้งให้แพทย์ทราบล่วงหน้าถึงอาการเจ็บป่วย รวมถึงพฤติกรรมต่างๆ ของผู้สูงอายุ เมื่อใช้ชีวิตอยู่ที่บ้าน เพื่อให้แพทย์มีความเข้าใจมากขึ้น
  4. จดบันทึกอาการป่วยของผู้สูงอายุเมื่ออยู่บ้าน เมื่ออยู่บ้านผู้ดูแลควรสังเกตุอาการและจดบันทึกอาการผิดปกติต่างๆ ของผู้สูงอายุ และนำบันทึกนี้ให้แพทย์อ่านเมื่อถึงวันนัด วิธีนี้จะช่วยหลีกเลี่ยงการพูดคุยเกี่ยวกับอาการผิดปกติต่อหน้าผู้สูงอายุ เพื่อไม่ให้ผู้สูงอายุรู้สึกอับอาย
  5. จดรายการยาที่ผู้สูงอายุรับประทาน ผู้ดูแลควรบันทึกรายการยา อาหารเสริม วิตามิน หรือสมุนไพรต่างๆ ที่ผู้สูงอายุรับประทาน หรือนำตัวอย่างยาไปแสดงให้กับแพทย์เมื่อถึงวันนัดหมาย ทั้งนี้ก็เพื่อที่แพทย์จะได้วิเคราะห์ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์ รวมถึงเพื่อให้ง่ายต่อการอธิบายให้ผู้สูงอายุและผู้ดูแลได้ทราบ
  6. ให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการพูดคุยกับแพทย์ ถึงแม้ว่าการที่ผู้ดูแลพูดคุยกับแพทย์ด้วยตัวเองโดยไม่ให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการพูดคุยจะง่ายและรวดเร็วกว่า แต่อย่างไรก็ตามควรให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมเสมอ เพื่อให้ผู้สูงอายุรู้สึกมีคุณค่า มีอิสระ และไม่รู้สึกว่าถูกปิดกั้น

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ บ้านลลิสา ดูแลคนที่คุณรักด้วยความเข้าใจ

  • โรคลมแดด และตะคริวแดด เกิดจากการได้รับความร้อนมากจนเกินไป และภาวะขาดน้ำ
  • ระบบขับถ่ายและการทำงานของไต อาจทำให้เกิดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ นิ่วในไต และท้ายที่สุดภาวะไตวาย
  • อาการชัก เป็นผลมาจากแร่ธาตุในร่างกายไม่สมดุล เช่น โพแทสเซียมและโซเดียม เป็นต้น ทำให้กล้ามเนื้อหดตัวหรือทำให้หมดสติได้
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ: ผู้สูงอายุควรดื่มน้ำในปริมาณ 8-12 แก้วต่อวันเพื่อทดแทนน้ำในร่างกายที่เสียไป ผู้ดูแลควรจัดวางน้ำดื่มไว้ในจุดที่หยิบง่ายและใกล้ตัวผู้สูงอายุ เพื่อที่ผู้สูงอายุจะได้ดื่มน้ำให้บ่อยขึ้น
  • หลีกเลี่ยงอากาศร้อน: ไม่ควรให้ผู้สูงอายุอยู่ในสถานที่ที่อากาศไม่ถ่ายเทและมีความร้อนสูง เนื่องจากอาจจะร่างกายของผู้สูงอายุไม่สามารถระบายความร้อนออกมาได้อย่างรวดเร็วเหมือนคนวัยอื่นๆ
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง: การบริโภคเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงและลดการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เพราะจะทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกกระหายน้ำมากกว่าเดิม
  • รับประทานอาหารที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบ: ในฤดูร้อนควรเน้นรับประทานผักและผลไม้ที่มีน้ำ เช่น แตงกวา แตงโม และรับประทานอาหารที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบ เช่น ซุป โยเกิร์ต
  • พักดื่มน้ำเมื่อออกกำลังกาย: เมื่อผู้สูงอายุทำกิจกรรมที่ทำให้เสียเหงื่อมาก เช่น การออกกำลังกาย การปลูกผัก จัดสวน ควรแนะนำให้ผู้สูงอายุพักดื่มน้ำทุกๆ 15 – 20 นาที เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุบ้านลลิสา การดูแลเหนือระดับเพื่อคนที่คุณรัก

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ บ้านลลิสา ให้การดูแลคนที่คุณรักในวัยเกษียณด้วยทีมแพทย์และพยาบาลผู้มีประสบการณ์ เราให้การดูแลที่ครอบคลุมทั้งสุขภาพร่างกายและจิตใจ รวมถึงดูแลจัดการการรับประทานอาหารและยา เพื่อให้คนที่คุณรักดำเนินชีวิตตามปกติได้มากที่สุด ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและเอื้อต่อการอยู่อาศัย โทรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลผู้สูงอายุของบ้านลลิสา เพื่อให้เราออกแบบโปรแกรมการดูแลเฉพาะบุคคลให้กับคนที่คุณรักได้แล้ววันนี้