F.A.S.T: รู้ทันสัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมอง

เรียนรู้สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมองผ่านการสังเกตแบบ F.A.S.T

ในทุกๆปี 1 ใน 4 ของคนไทยจะป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตเป็นอันดับ 1 ในประเทศไทย ในความเป็นจริงแล้วในทุกๆ 40 วินาทีจะมีคนป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง 1 คน ซึ่งในบทความนี้เราจะมาเจาะลึกเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง และสัญญาณของโรคนี้ที่อาจจะเกิดขึ้นได้กับคนที่คุณรัก

โรคหลอดเลือดสมองคืออะไร?

โรคหลอดเลือดสมองเกิดขึ้นจากการอุดตันในเส้นเลือด ในขณะที่เลือดกำลังไหลเวียนไปเลี้ยงสมองของเรา ซึ่งส่งผลกระทบต่อระดับออกซิเจน และ สารอาหารอื่นๆที่ไปหล่อเลี้ยงสมอง โรคหลอดเลือดสมองแบ่งได้เป็น 2 ประเภทดังนี้

หลอดเลือดสมองอุดตัน

ประเภทนี้ถือได้ว่าเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองซึ่งสามารถพบได้ในอัตราร้อยละ 87 ซึ่งเกิดจากการที่มีลิ่มเลือดไหลเข้าไปอุดตันหลอดเลือดแดง หรือ อาจจะเกิดจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดแดงตีบก็เป็นได้

หลอดเลือดในสมองแตก

ถึงแม้อาการหลอดเลือดสมองแตกพบได้น้อยกว่าร้อยละ 15 แต่ก่อให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้มากถึงร้อยละ 30 ซึ่งเกิดขึ้นได้เมื่อเส้นเลือดในสมองแตกและเกิดเลือดออกในสมอง

ทั้งสองประเภทนี้สามารถส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหว, การพูด, การมองเห็น, ความสามารถในการรับรู้ และ การเคลื่อนไหวของร่างกายของแต่ละคน สำหรับบางคนที่กำลังประสบกับโรคหลอดเลือดในสมองอาจเกิดอาการหมดสติก็เป็นได้

โรคหลอดเลือดสมองอีกประเภทหนึ่งที่จัดอยู่ในหมวดหมู่คล้ายๆกันก็คือ ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว หรือ ที่เราเรียกว่า “อัมพฤกษ์ อัมพาต” บ่อยครั้งที่คนส่วนมากคิดว่าโรคประเภทนี้คือภาวะสมองขาดเลือด แต่ในทางการแพทย์จริงๆแล้วอัมพฤกษ์ อัมพาตไม่ได้จัดว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมอง การเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตเกิดจากการอุดตันของลิ่มเลือด โดยปกติแล้วอาการของโรคนี้จะเป็นอาการชั่วคราว และ เมื่อลิ่มเลือดสลายตัว สมองก็จะกลับมาทำงานเป็นปกติเช่นเดิม ซึ่งการเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตจะพบได้ง่ายกว่าโรคหลอดเลือดสมอง 2 ประเภทข้างต้น

วิธีการสังเกตสัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมองเบื้องต้น

F-A-S-T เป็นตัวย่อของการสังเกตอาการเฉียบพลันของโรคหลอดเลือดสมองเบื้องต้น ซึ่งแต่ละตัวอักษรหมายถึงอาการต่างๆดังนี้

  • F ย่อมาจาก Face (ใบหน้า): อาการนี้อาจจะไม่ได้พบทั่วไปในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง แต่ถ้าหากเกิดขึ้นอาจจะเป็นสัญญาณเตือนภัยที่คุณไม่ควรละเลย หากคุณพบเห็นอาการปากเบี้ยว หรือ มุมปากตกเวลายิ้มนั่นเป็นสัญญาณที่สามารถบ่งบอกความผิดปกติได้อย่างหนึ่ง ถ้าหากคุณนึกถึงคนที่คุณรักที่อาจจะเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ลองสังเกตใบหน้าเพื่อสังเกตุความผิดปกติ เช่น ลองสังเกตเวลายิ้ม เป็นต้น
  • A ย่อมากจาก Arms (แขน): หลังจากที่คุณสังเกตอาการผิดปกติบนใบหน้าแล้ว จุดถัดมาที่ควรสังเกตคือ “แขน” ลองให้ผู้สูงอายุยกแขนเหนือศีรษะ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอาจจะไม่สามารถยกแขนข้างเดียวได้ หรือถ้าหากสามารถยกได้ทั้งสองข้าง แขนอีกข้างอาจจะยกได้ไม่เท่ากันหรือตกอยู่ข้างหนึ่ง ซึ่งนี่อาจจะเป็นสัญญาณเตือนภัยของปัญหาทางระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับโรคหลอดเลือดสมอง
  • S ย่อมาจาก Speech (การพูด): การมีปัญหาทางด้านการพูด เป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงโรคหลอดเลือดในสมองเนื่องจากการผิดปกติของระบบไหลเวียนของเลือด และ ออกซิเจนซึ่งส่งผลกระทบต่อสมอง การพูดไม่ชัด, พูดวกไปวนมา, พูดไม่ออก หรือ มีลักษณะการพูดที่ผิดปกติผิดแปลกออกไป ล้วนเป็นสัญญาณของโรคหลอดเลือดสมองที่คุณไม่ควรละเลย อย่ารอจนกว่าอาการเหล่านี้จะพัฒนาจนสายเกินแก้
  • T ย่อมาจาก Time (เวลา): สิ่งสุดท้ายที่ไม่ควรปล่อยปะละเลยคือ “เวลา” หากผู้ป่วยเริ่มมีอาการข้างต้นที่ได้กล่าวมา ควรโทรไปที่ 1669 ทันทีเพราะเวลาเป็นสิ่งที่มีค่าที่สุดในการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง คุณควรแจ้งเจ้าหน้าที่ปลายสายว่ามีผู้ป่วยภาวะโรคหลอดเลือดสมองที่ต้องการความช่วยเหลืออยู่กับคุณ ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาให้เร็วที่สุดเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับสมองตามระยะเวลาที่เพิ่มมากขึ้น

การเตรียมตัวเพื่อรับมือกับอาการภาวะหลอดเลือดสมองหากคุณพบสัญญาณเหล่านี้ในคนที่คุณรัก

ในแต่ละปีในประเทศไทยจะมีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจำนวน 304,807 คนต่อปี โรคนี้สามารถเกิดได้กับทุกคนทุกเวลา ดังนั้นการเตรียมตัวเพื่อรับมือกับภาวะฉุกเฉินนี้ อาจช่วยเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ให้ดีขึ้นได้

  • เรียนรู้สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมอง และ บอกต่อไปยังครอบครัวและเพื่อนฝูง
  • ถ้าหากคนที่คุณรักมีโรคประจำตัว คุณควรใส่สายรัดข้อมือให้ผู้ป่วย หรือ ใส่ป้ายคล้องคอที่ระบุโรคประจำตัว, อาการแพ้, หรือ ยาที่เขาต้องรับประทาน
  • สอนทุกคนในครอบครัวให้รู้จักกับเกี่ยวกับสัญญาณเตือนภัยโรคหลอดเลือดสมอง โดยใช้วิธีสังเกตแบบ “F-A-S-T”, สอนการโทรเรียกรถพยาบาล 1669 รวมถึงการให้ที่อยู่ และการอธิบายสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
  • คุณควรเข้ารับการปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญที่ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ และศูนย์รักษาโรคหลอดเลือดสมองเพื่อรับคำแนะนำในการเลือกโปรแกรมการดูแลที่เหมาะสมให้กับคนที่คุณรัก

“ให้เราช่วยดูแลคนที่คุณรัก โทรหาเราตอนนี้”

การเตรียมตัวเพื่อรับมือกับอาการภาวะหลอดเลือดสมองหากคุณพบสัญญาณเหล่านี้ในคนที่คุณรัก

ในแต่ละปีในประเทศไทยจะมีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจำนวน 304,807 คนต่อปี โรคนี้สามารถเกิดได้กับทุกคนทุกเวลา ดังนั้นการเตรียมตัวเพื่อรับมือกับภาวะฉุกเฉินนี้ อาจช่วยเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ให้ดีขึ้นได้

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุเหมาะสำหรับใคร

  • เรียนรู้สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมอง และ บอกต่อไปยังครอบครัวและเพื่อนฝูง
  • ถ้าหากคนที่คุณรักมีโรคประจำตัว คุณควรใส่สายรัดข้อมือให้ผู้ป่วย หรือ ใส่ป้ายคล้องคอที่ระบุโรคประจำตัว, อาการแพ้, หรือ ยาที่เขาต้องรับประทาน
  • สอนทุกคนในครอบครัวให้รู้จักกับเกี่ยวกับสัญญาณเตือนภัยโรคหลอดเลือดสมอง โดยใช้วิธีสังเกตแบบ “F-A-S-T”, สอนการโทรเรียกรถพยาบาล 1669 รวมถึงการให้ที่อยู่ และการอธิบายสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
  • คุณควรเข้ารับการปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญที่ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ และศูนย์รักษาโรคหลอดเลือดสมองเพื่อรับคำแนะนำในการเลือกโปรแกรมการดูแลที่เหมาะสมให้กับคนที่คุณรัก

เลือกการดูแลที่ดีที่สุดที่ ศูนย์ดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาต บ้านลลิสา เนอร์สซิ่งโฮม

เลือกศูนย์ดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาตที่ดีที่สุดให้กับคนที่คุณรัก ที่ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ บ้านลลิสา

ขั้นตอนถัดมาคือการเรียนรู้ว่าคุณและคนที่คุณรักจะทำอย่างไรเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ถึงแม้ว่าปัจจัยความเสี่ยงต่างๆอาจหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ว่าก็ยังมีอีกหลายปัจจัยที่คุณสามารถป้องกันได้ ศูนย์ดูแลและฟื้นฟูผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาต บ้านลลิสา เนอร์สซิ่งโฮม ออกแบบโปรแกรมโดยทีมแพทย์และนักบัดบำบัดผู้มีประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในการดูแลฟื้นฟู ทำให้โปรแกรมของเรามีความโดดเด่นในการดูแล โดยนำนวัตกรรมสมัยใหม่ TMS เข้ามาประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยที่มาพักฟื้นกับเรา ให้สามารถฟื้นฟูจากโรคหลอดเลือดสมองและภาวะอัมพฤกษ์ อัมพาตและกลับมาเคลื่อนไหวได้อย่างเป็นปกติมากกว่าการบำบัดแบบโปรแกรมทั่วไป บวกกับการจัดกิจกรรมมบำบัดอื่นๆ เช่นธาราบำบัด และกิจกรรมบำบัดที่เข้ามาเสริมประสิทธิภาพการบำบัดอาการในผู้ป่วยได้เร็ว ติดต่อเราวันนี้ เพื่อรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญของเรา

logo light