การรับมือกับผู้ป่วยอัลไซเมอร์ที่มีภาวะเสียสำนึกความพิการ

เรียนรู้แนวทางการรับมือกับผู้ป่วยอัลไซเมอร์ที่มีภาวะเสียสำนึกความพิการได้จากบทความของเรา

โรคอัลไซเมอร์เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของสมอง ทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาด้านการจดจำและหลงลืมเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้น เช่น ลืมเวลานัด พูดเรื่องเดิมซ้ำๆ จำญาติไม่ได้ หรือจำทางกลับบ้านไม่ได้ อาการเหล่านี้จะเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นตามระยะของโรค การที่เซลล์สมองถูกทำลายจะส่งผลให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม รู้สึกสับสน มีอารมณ์แปรปรวน อีกทั้งสูญเสียความสามารถในการคิดวิเคราะห์และการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล ผู้ป่วยหลายรายอาจปฏิเสธการรับรู้ถึงความผิดปกติด้านสุขภาพที่เกิดขึ้นโดยมักเชื่อว่าตนเองไม่ได้ป่วย รวมถึงไม่สามารถรับรู้ถึงสภาพร่างกายของตนเองได้อย่างถูกต้อง จนทำให้ผู้ดูแลหรือบุคคลใกล้ชิดเกิดความรู้สึกท้อแท้เพราะไม่ทราบว่าจะต้องรับมืออย่างไร

อย่างไรก็ตามการที่ผู้ป่วยไม่ตระหนักถึงอาการเจ็บป่วยของตนเองนั้น ไม่ได้เกิดจากการเสแสร้งหรือแกล้งทำ แต่เกิดจากความผิดปกติในการทำงานของสมอง ในทางการแพทย์เรียกอาการนี้ว่า “Anosognosia” ซึ่งมักพบได้ทั่วไปในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์กว่า 81%

สาเหตุของภาวะเสียสำนึกความพิการ หรือ ANOSOGNOSIA

ภาวะ Anosognosia คือภาวะที่ผู้ป่วยปฏิเสธหรือไม่รู้สึกถึงอาการเจ็บป่วยและความผิดปกติด้านสุขภาพของตนเอง อาการดังกล่าวสามารถพบได้ในผู้ป่วยทุกประเภท ไม่เพียงเฉพาะผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมหรืออัลไซเมอร์เท่านั้น

ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าอาการ Anosognosia มีสาเหตุมาจากการที่สมองซีกขวาที่มีหน้าที่ในการคิดเชิงนามธรรม การรับรู้และการแก้ไขปัญหาได้ถูกทำลายหรือเสื่อมสภาพลง ทำให้สมองซีกซ้ายเข้ามาทำหน้าที่ทดแทน ส่งผลให้เกิดการปฏิเสธการรับรู้ถึงความเจ็บป่วยและหาเหตุผลเข้าข้างตนเองว่าไม่ได้มีอาการผิดปกติ ไปจนถึงการแสดงอาการต่อต้าน ไม่ยอมรับการวินิจฉัยของแพทย์ และไม่ให้ความร่วมมือในการรักษา จนทำให้ผู้ดูแลรู้สึกหนักใจ

แนวทางการรับมือกับผู้ป่วยอัลไซเมอร์ที่มีอาการ ANOSOGNOSIA

การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์และผู้ป่วยโรคสมองอื่นๆ ที่มีอาการ Anosognosia ไม่จำเป็นต้องอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจหรือยอมรับอาการผิดปกติของตนเอง แต่ผู้ดูแลจำเป็นจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับผู้ป่วย รวมถึงจัดการอารมณ์ของตนเองอย่างเหมาะสม ในบทความนี้เราได้รวบรวมแนวทางการรับมือกับผู้ป่วยที่มีอาการ Anosognosia เพื่อให้คุณสามารถดูแลคนที่คุณรักได้อย่างดีที่สุด

อาการของภาวะขาดน้ำที่เป็นอันตรายต่อชีวิตและต้องพบแพทย์โดยด่วนได้แก่:

  • รู้เท่าทันอารมณ์ของตนเอง: การให้ความดูแลหรือการพยายามอธิบายให้ผู้ป่วยที่ไม่ยอมรับว่าตนเองมีอาการป่วย เข้าใจถึงความผิดปกติของตนเอง มักทำให้ผู้ดูแลรู้สึกเหนื่อยล้า หงุดหงิด หรือรำคาญใจไม่มากก็น้อย หลายครั้งอาจก่อให้เกิดภาวะเครียดสะสม ดังนั้นก่อนพูดคุยกับผู้ป่วย ผู้ดูแลควรตรวจสอบและประเมินอารมณ์ของตนเองก่อน เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการใช้อารมณ์ขณะพูดคุยกับผู้ป่วยซึ่งอาจนำไปสู่การทะเลาะเบาะแว้งได้
  • ทำความเข้าใจผู้ป่วย: ผู้ดูแลต้องทำความเข้าใจว่าการที่ผู้ป่วยไม่ตระหนักถึงอาการเจ็บป่วยของตนเองนั้น ไม่ได้เกิดจากการแกล้งทำ หรือไม่ยอมรับความจริง แต่แท้จริงแล้วมีสาเหตุมาจากความผิดปกติและการเปลี่ยนแปลงทางสมอง ควรให้การดูแลอย่างใจเย็น ระมัดระวังคำพูดและท่าทางที่อาจส่งผลกระทบต่ออารมณ์ของผู้ป่วย ความรู้สึกด้านลบจะยิ่งทำให้ผู้ป่วยต่อต้านและไม่ให้ความร่วมมือ ซึ่งจะทำให้การดูแลเป็นไปอย่างยากลำบากยิ่งขึ้น
  • ดูแลด้านโภชนาการ: ควรดูแลให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในสัดส่วนที่เหมาะสม ควบคุมปริมาณน้ำตาลและคาแฟอีนในแต่ละวัน ลดความตื่นตัว และช่วยให้สมองไม่ทำงานหนักเนื่องจากถูกกระตุ้นมากเกินไป เพื่อให้ผู้ป่วยนอนหลับสนิทยิ่งขึ้น
  • วางแผนการทำกิจวัตรประจำวัน: การวางแผนการทำกิจวัตรประจำวันอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกคุ้นชินกับการดำเนินชีวิตในแต่ละวัน รวมถึงช่วยลดความเครียดความกระวนกระวายใจได้
  • ให้อิสระผู้ป่วย: ควรให้อิสระแก่ผู้ป่วยในการทำกิจกรรมที่ชื่นชอบและสามารถทำได้ด้วยตนเองอย่างปลอดภัย ถึงแม้ว่าจะทำออกมาได้ไม่ดีนักเนื่องจากอาการเจ็บป่วย เช่น การพับผ้า การดูแลต้นไม้
  • ใช้อุปกรณ์ช่วยติดตาม: การใส่นาฬิกาหรือพกอุปกรณ์ติดตามจะช่วยลดความเสี่ยงในการพลัดหลงออกจากบ้าน รวมถึงช่วยให้ผู้ดูแลสามารถติดตามผู้ป่วยในกรณีสูญหายได้

“ให้เราช่วยดูแลคนที่คุณรัก โทรหาเราตอนนี้”

ศูนย์ดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์และผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมบ้านลลิสา

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ คือศูนย์บริการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุแบบครบวงจร ตลอด 24 ชั่วโมง ด้วยโปรแกรมสุขภาพที่ออกแบบโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ครอบคลุมการดูแลทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ไม่ว่าจะเป็นการดูแลด้านอาหารและยา การทำกิจวัตรประจำวัน ตลอกจนการทำกิจกรรมเข้าสังคมเพื่อให้ผู้สูงอายุเกิดความมั่นใจในตนเอง ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแต่ละแห่งอาจมีโปรแกรมสุขภาพที่แตกต่างกันไป อาทิ โปรแกรมสำหรับผู้ป่วยอัลไซเมอร์ โปรแกรมสำหรับดูแลผู้ป่วยติดเตียง โปรแกรมสำหรับผู้สูงอายุวัยเกษียณ เป็นต้น

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุเหมาะสำหรับใคร

  • ผู้ที่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์หรือภาวะสมองเสื่อมรูปแบบอื่นๆ ที่ต้องการการดูแลตลอดเวลา
  • ผู้ป่วยติดเตียงและผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาตที่ต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด ช่วยเหลือในการพลิกตะแคงตัว การป้อนอาหาร การขับถ่าย และการชำระล้างทำความสะอาด
  • ผู้ที่ต้องการการดูแลทางการแพทย์เฉพาะทางเป็นประจำ เช่น กายภาพบำบัด TMS บำบัด
  • ผู้ที่ต้องการเข้าสังคม มีภาวะซึมเศร้า เนื่องจากอยู่คนเดียวลำพัง

นอกจากข้อมูลข้างต้นแล้ว ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุยังมีจุดเด่นด้านสภาพแวดล้อมและสถานที่ที่ปลอดภัย เพราะถูกออกแบบมาให้ตอบสนองกับความต้องการและข้อจำกัดในการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุมากที่สุด

เลือกการดูแลที่เหมาะสมให้กับคนที่คุณรัก

ศูนย์ดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ บ้านลลิสา มีทีมงานผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลคนที่คุณรักตลอด 24 ชั่วโมงเพื่อให้คุณมั่นใจว่าเขาจะได้รับการดูแลอย่างดีเยี่ยม

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ บ้านลลิสาให้การดูแลคนที่คุณรักที่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์และโรคสมองเสื่อมด้วยโปรแกรมการดูแลเฉพาะบุคคล ผู้ดูแลของเราผ่านการอบรมหลักสูตรการดูแลผู้ป่วยโรคสมองโดยเฉพาะ เพื่อให้สามารถดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากที่สุด ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการอยู่อาศัย มอบการดูแลเพื่อชีวิตที่เต็มเปี่ยมให้กับคนที่คุณรัก ติดต่อทีมงานผู้เชี่ยวชาญของบ้านลลิสาและวางแผนโปรแกรมดูแลให้กับคนที่คุณรักได้แล้ววันนี้!