เมื่อก้าวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจอาจทำให้ผู้สูงอายุมีโรคประจำตัว และต้องเข้าพบแพทย์บ่อยขึ้น การพบแพทย์จึงไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่นัก แต่ในบางครั้งผู้ดูแลอาจต้องเผชิญกับเหตุการณ์ที่ผู้สูงอายุพยายามหลีกเลี่ยงการให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ถึงแม้ว่าจะเคยพบแพทย์มาก่อนแล้วก็ตาม ผู้สูงอายุอาจแสดงพฤติกรรมที่แปลกไปหรือมีบุคลิกแตกต่างไปจากเดิม รวมถึงอาจยืนยันกับแพทย์ว่าตนเองมีสุขภาพแข็งแรงดี ไม่มีอาการเจ็บป่วยใดๆ แม้ว่าจะแสดงอาการป่วยตลอดเวลาเมื่ออยู่ที่บ้าน
ดังนั้น เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการวินิจฉัยและรักษาโรค ผู้ดูแลจะต้องคอยให้ความช่วยเหลือและพูดคุยกับแพทย์เพื่อให้แพทย์ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องมากที่สุด โดยไม่ทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกอับอายหรือเสียความมั่นใจในตัวเอง
พฤติกรรมโกหกที่ผู้สูงอายุแสดงออกเมื่อพบแพทย์อาจดูเหมือนผู้สูงอายุกำลัง ‘เล่นละคร’ แต่แท้จริงแล้ว ผู้สูงอายุแสดงพฤติกรรมเหล่านี้ เพราะรู้สึกกลัว อับอาย และความรู้สึกต่อต้าน เมื่อต้องเล่าถึงปัญหาด้านสุขภาพ นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมก็สามารถแสดงพฤติกรรม ‘เล่นละคร’ ได้เช่นกัน เมื่อต้องพูดคุยกับแพทย์ สาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุไม่พูดความจริง มีดังนี้
ความกลัวเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้สูงอายุหลีกเลี่ยงการให้ข้อมูลกับแพทย์ เพราะเกรงว่าแพทย์อาจตรวจพบโรคหรืออาการแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น โรคหัวใจ มะเร็ง โรคเบาหวาน หรือโรคสมองเสื่อม อีกทั้งหากตรวจพบว่ามีโรคเพิ่มเติม ผู้สูงอายุมักมีความกังวลว่าจะต้องสูญเสียความเป็นอิสระ จึงเลือกที่จะปิดบังความจริงและแสดงพฤติกรรมหรือแจ้งว่าตนเองไม่มีความผิดปกติ
จากงานวิจัยพบว่าผู้คนในทุกช่วงวัยจะรู้สึกลังเล เมื่อต้องเล่าอาการเจ็บป่วยของตนเองให้แพทย์ฟัง เนื่องจากมีรู้สึกอับอายและกลัวว่าจะไม่ได้รับการยอมรับจากแพทย์ หลายคนจึงเลือกที่จะบอกข้อมูลเพียงบางส่วนหรืออาจสร้างเรื่องโกหกเพื่อป้องกันตัวเอง เช่นเดียวกันกับผู้สูงอายุที่ไม่ยอมบอกข้อมูลที่เป็นจริงให้กับแพทย์ เพราะการเจ็บป่วยทำให้ตนเองรู้สึกด้อยค่า อับอาย และกลัวไม่ได้รับการยอมรับ
ผู้สูงอายุที่เคยมีอิสระ หรือเคยมีความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆ เมื่ออายุมากขึ้น อาจไม่อยากยอมรับอาการเจ็บป่วยทางร่างกายหรือจิตใจ ทำให้เกิดความรู้สึกต่อต้าน และไม่บอกความจริงให้กับแพทย์ และจะยิ่งส่งผลให้อาการแย่ลงเรื่อยๆ
นอกจากสาเหตุที่กล่าวมาข้างต้น ผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมอาจโกหกแพทย์และแสดงว่าตนเองมีสุขภาพปกติดีได้เช่นกัน เนื่องจากความผิดปกติของสมองทำให้ผู้สูงอายุที่เป็นโรคอัลไซเมอร์หรือภาวะสมองเสื่อมประเภทอื่นๆ ไม่สามารถรับรู้ถึงความบกพร่องในความทรงจำ สูญเสียความสามารถในการตัดสินใจ และอารมณ์แปรปรวน เมื่อต้องพูดคุยกับแพทย์ ผู้ป่วยจึงมักจะเชื่อว่าตนเองไม่ได้มีปัญหาด้านสุขภาพหรือมีอาการผิดปกติใดๆ
ผู้ดูแลหรือคนในครอบครัวมีบทบาทสำคัญในการพูดคุยกับแพทย์ ตั้งแต่การนัดหมาย ตลอดจนการให้ข้อมูลที่ถูกต้อง เพื่อให้แพทย์สามารถวินิจฉัยและให้การดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุได้มากที่สุด ซึ่งวิธีการมีดังต่อไปนี้
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ บ้านลลิสา ให้การดูแลคนที่คุณรักในวัยเกษียณด้วยทีมแพทย์และพยาบาลผู้มีประสบการณ์ เราให้การดูแลที่ครอบคลุมทั้งสุขภาพร่างกายและจิตใจ รวมถึงดูแลจัดการการรับประทานอาหารและยา เพื่อให้คนที่คุณรักดำเนินชีวิตตามปกติได้มากที่สุด ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและเอื้อต่อการอยู่อาศัย โทรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลผู้สูงอายุของบ้านลลิสา เพื่อให้เราออกแบบโปรแกรมการดูแลเฉพาะบุคคลให้กับคนที่คุณรักได้แล้ววันนี้
©2019 – 2024 BAAN LALISA SERVICE GROUP CO., LTD. All Rights Reserved.