ข้อแนะนำเมื่อต้องดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม

โรคสมองเสื่อม (Dementia) ไม่ได้เป็นเพียงการสูญเสียความทรงจำหรืออาการหลงลืมเท่านั้น แต่คือความเสื่อมประสิทธิภาพของสมองที่เกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป จนส่งผลให้เกิดความผิดปกติทางความคิด อารมณ์ ความรู้สึก ตลอดจนการใช้เหตุผลและการสื่อสารกับผู้อื่น ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อคนรอบข้างที่ต้องให้การดูแลอย่างใกล้ชิ จากสถิติที่ผ่านมา พบว่าประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมเพิ่มขึ้นกว่า 100,000 รายต่อปี และคาดว่าตัวเลขผู้ป่วยจะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 1,177,000 คนในปี 2573 ซึ่งหมายความว่าจะมีผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อยที่ต้องการการช่วยเหลือดูแลจากญาติและคนในครอบครัว เพื่อให้สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดแม้จะป่วยเป็นโรคสมองเสื่อม  บทความนี้ได้นำเสนอแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมที่ผู้ดูแลสามารถนำไปปรับใช้ในการดูแลผู้ป่วยและรับมือกับปัญหาเบื้องต้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วิธีรับมือกับการสื่อสาร

อาการสับสน หลงลืมเหตุการณ์ต่างๆ และจดจำคนรอบข้างไม่ได้ เป็นอาการผิดปกติที่พบได้ทั่วไปในผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม ผู้ป่วยบางรายจะรู้สึกว่าตนเองบกพร่องและสูญเสียความมั่นใจในตนเอง ทำให้ไม่อยากพบปะผู้คนอื่นๆ การสื่อสารกับผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้กับผู้ป่วยได้

ข้อแนะนำ

■ เมื่อผู้ป่วยถามคำถามหรือพูดซ้ำๆ ผู้ดูแลไม่ควรโต้เถียง ตำหนิ หรือพยายามอธิบายด้วยเหตุผล เนื่องจากการกระทำเหล่านี้มีแต่จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกหงุดหงิดมากขึ้น

■ หากผู้ป่วยต้องรับประทานยาเป็นประจำ ควรจัดยาให้ผู้ป่วยในแต่ละวัน ไม่ควรจัดไว้หลายวันเพราะผู้ป่วยอาจลืมและรับประทานยาซ้ำได้

■ ผู้ดูแลควรใช้ปฏิทินหรือบอร์ดในการจดสิ่งสำคัญ และวางไว้ในที่ที่มองเห็นชัดเจน

■ คนรอบข้างสามารถพูดคุยกับผู้ป่วยเกี่ยวกับเรื่องในอดีต เพราะจะช่วยกระตุ้นความทรงจำ ทำให้ในบางครั้งผู้ป่วยสามารถจดจำเหตุการณ์บางส่วนได้ และเมื่อผู้ป่วยสามารถจดจำเหตุการณ์ต่างๆ คนรอบข้างควรชื่นชม เพื่อให้ผู้ป่วยมีความมั่นใจมากขึ้น

■ ผู้ดูแลจะให้ผู้ป่วยพกข้อมูลติดต่อเบื้องต้นติดตัวอยู่เสมอ อาจพิมพ์ข้อมูลลงในการ์ดให้ผู้ป่วยพกตลอดเวลา หรือใช้สัญญาณติดตามตัวเพื่อให้สามารถระบุตำแหน่งและช่วยเหลือได้ทันทีเมื่อผู้ป่วยพลัดหลงออกจากบ้าน

รับมือกับอาการหลงลืม

ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมระยะแรกเริ่มและระยะกลางจะมีอาการหลงลืม จำเรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่ได้ หลงลืมวัน รู้สึกสับสนซึ่งญาติและผู้ดูแลจะยังสามารถส่งเสริมให้ผู้ป่วยสามารถพึ่งพาตนเองในการทำกิจวัตรประจำวันได้ จนกว่าจะถึงระยะสุดท้ายที่ผู้ป่วยไม่สามารถทำด้วยตัวเองได้

ข้อแนะนำในการรับมือกับอาการหลงลืมของผู้สูงอายุ

“ให้เราช่วยดูแลคนที่คุณรัก โทรหาเราตอนนี้”

ข้อแนะนำในการรับมือกับอาการหลงลืมของผู้สูงอายุ

■ เมื่อผู้ป่วยถามคำถามหรือพูดซ้ำๆ ผู้ดูแลไม่ควรโต้เถียง ตำหนิ หรือพยายามอธิบายด้วยเหตุผล เนื่องจากการกระทำเหล่านี้มีแต่จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกหงุดหงิดมากขึ้น

■ หากผู้ป่วยต้องรับประทานยาเป็นประจำ ควรจัดยาให้ผู้ป่วยในแต่ละวัน ไม่ควรจัดไว้หลายวันเพราะผู้ป่วยอาจลืมและรับประทานยาซ้ำได้

■ ผู้ดูแลควรใช้ปฏิทินหรือบอร์ดในการจดสิ่งสำคัญ และวางไว้ในที่ที่มองเห็นชัดเจน

■ คนรอบข้างสามารถพูดคุยกับผู้ป่วยเกี่ยวกับเรื่องในอดีต เพราะจะช่วยกระตุ้นความทรงจำ ทำให้ในบางครั้งผู้ป่วยสามารถจดจำเหตุการณ์บางส่วนได้ และเมื่อผู้ป่วยสามารถจดจำเหตุการณ์ต่างๆ คนรอบข้างควรชื่นชม เพื่อให้ผู้ป่วยมีความมั่นใจมากขึ้น

■ ผู้ดูแลจะให้ผู้ป่วยพกข้อมูลติดต่อเบื้องต้นติดตัวอยู่เสมอ อาจพิมพ์ข้อมูลลงในการ์ดให้ผู้ป่วยพกตลอดเวลา หรือใช้สัญญาณติดตามตัวเพื่อให้สามารถระบุตำแหน่งและช่วยเหลือได้ทันทีเมื่อผู้ป่วยพลัดหลงออกจากบ้าน

โรคสมองเสื่อมเป็นโรคที่ส่งผลให้เกิดความเครียดทั้งในตัวผู้ป่วยเองและในผู้ดูแล ความเครียดในผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมเกิดจากการสูญเสียความสามารถในการสื่อสาร อาการหลงลืมต่างๆ ที่ทำให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตอย่างลำบากมากขึ้น ในขณะที่ผู้ดูแลจะต้องเผชิญกับความเครียดที่เกิดจากการดูแลผู้ป่วยเป็นเวลานานๆ จนส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ

การจัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้นสำหรับทั้งสองฝ่าย จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการดูแลผู้ป่วยในระยะยาว เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างเพียงพอโดยลดภาระของผู้ดูแลให้มากที่สุด

การลดความเครียดในผู้ป่วย

■ ผู้ดูแลควรจัดรูปแบบการดูแลที่สม่ำเสมอ และกำหนดเวลาในการทํากิจวัตรที่แน่นอน เพื่อลดความสับสน

■ ควรให้ผู้ป่วยพักผ่อนอย่างเพียงพอ จัดสภาพแวดล้อมในห้องนอนให้เหมาะสม ลดสิ่งกระตุ้นต่างๆ

■ ส่งเสริมให้ผู้ป่วยทํากิจกรรมต่างๆ ร่วมกันในครอบครัว เช่น ดูโทรทัศน์ จัดสวน รับประทานอาหารร่วมกัน เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งและยังมีความสำคัญ

การลดความเครียดในผู้ดูแล

ศูนย์ดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมบ้านลลิสา วางแผนการดูแลสำหรับคนที่คุณรัก

■ หากผู้ดูแลรู้สึกเครียด ควรหยุดพักและงดจากการให้การดูแล และให้เวลาตัวเองได้ผ่อนคลาย

■ ปรึกษาและพูดคุยเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยจากทีมสุขภาพ หรือพยาบาลผู้มีประสบการณ์

■ ใช้บริการผู้ดูแลรายวันและศูนย์ดูแลผู้สูงอายุที่ได้มาตรฐานเพื่อแบ่งเบาภาระ และช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างถูกต้องและเพียงพอ

ศูนย์ดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมบ้านลลิสาให้บริการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมด้วยโปรแกรมเฉพาะบุคคลที่ออกแบบร่วมกับครอบครัวเพื่อให้คุณมั่นใจว่าคนที่คุณรักจะได้รับการดูแลที่ได้มาตรฐานโดยทีมแพทย์และผู้ดูแลมากประสบการณ์ตลอด 24 ชั่วโมง ภายในศูนย์มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ปลอดภัยและมีกิจกรรมนันทนาการเสริมสร้างการเข้าสังคมของผู้สูงอายุพร้อมการให้บริการนวัตกรรมการรักษาด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า TMS ที่จะช่วยชะลออาการของโรคสมองเสื่อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ โทรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญของเราตอนนี้และวางแผนการดูแลคนที่คุณรัก!