10 สัญญาณเตือนของ ‘โรคอัลไซเมอร์’

เรียนรู้ 10 สัญญาณเตือนโรคอัลไซเมอร์เพื่อช่วยคนที่คุณรักเข้ารับการรักษาและดูแลจากผู้เชี่ยวชาญได้ทันท่วงที

ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักจะมีอาการหลงลืม อันเนื่องมาจากความสามารถในการทำงานของสมองที่ลดลง แต่หากอาการหลงลืมที่เกิดขึ้น เริ่มส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน ก็อาจจะเป็นสัญญาณเตือนของโรคอัลไซเมอร์ในระยะแรกเริ่มได้ โรคอัลไซเมอร์ เป็นโรคสมองเสื่อมที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ โดยจะเริ่มจากอาการหลงลืม จากนั้นค่อยๆ สูญเสียความสามารถในการสื่อสาร คิดวิเคราะห์ การให้เหตุผล และการเรียนรู้ จนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การเข้าสังคม ไปจนถึงชีวิตครอบครัว

แม้ว่าอาการสมองเสื่อมตามธรรมชาติ และอาการของโรคอัลไซเมอร์ ยังไม่มีเส้นแบ่งและข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน แต่หากผู้ป่วยและคนในครอบครัวสามารถสังเกตเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และเข้าพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและการดูแลรักษาที่ถูกต้อง จะช่วยชะลออาการของโรค ทำให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างราบรื่น

เราได้รวบรวมข้อมูลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคอัลไซเมอร์ และจัดทำบทความ ‘10 สัญญาณเตือนของโรคอัลไซเมอร์’ เพื่อให้ผู้อ่านมีความเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างอาการความจำเสื่อมที่สามารถเกิดขึ้นตามวัยและอาการของโรคอัลไซเมอร์ ได้ดียิ่งขึ้น

10 อาการของที่อาจจะสัญญาณของโรคอัลไซเมอร์มีดังนี้

1. ความจำถดถอย

ผู้สูงอายุที่มีอาการของโรคอัลไซเมอร์ในระยะแรก จะไม่สามารถจดจำข้อมูลใหม่ๆ ที่เพิ่งได้รับ โดยมักจะลืมเหตุการณ์สำคัญที่เพิ่งเกิดขึ้น เช่น งานเลี้ยงฉลองวันเกิดของคนในครอบครัว ทริปท่องเที่ยว หรือจำชื่อคนรู้จักไม่ได้ ลืมนัดหมายสำคัญ รวมถึงการมีพฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำ มักถามคำถามเดิมซ้ำๆ เนื่องจากลืมว่าเคยถามไปแล้ว

2. การทำกิจวัตรที่คุ้นเคยมีความยากลำบากมากขึ้น

ผู้ที่เริ่มเป็นอัลไซเมอร์มักใช้เวลาในการทำกิจวัตรประจำวันที่คุ้นเคยนานขึ้น เช่น การรับประทานอาหาร การอาบน้ำ การแต่งตัว เป็นต้น และไม่สามารถทำกิจกรรมอื่นๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปได้ ตัวอย่างเช่น ไม่สามารถจัดเตรียมมื้ออาหาร เนื่องจากลืมขั้นตอนวิธีการปรุงอาหาร ไม่สามารถใช้โทรศัพท์เพื่อโทรออกได้ และในบางครั้งก็ไม่สามารถย้อนนึกกลับไปว่าตัวเองเข้ามาในห้องเพื่อทำสิ่งใด

3. มีปัญหาด้านการสื่อสาร

เนื่องจากสมองมีประสิทธิภาพในการทำงานลดลง การเรียบเรียงคำพูดและการสร้างประโยคจึงเป็นเรื่องยากมากขึ้น ผู้ที่มีอาการอัลไซเมอร์มักจะลืมคำพูดที่ต้องการสื่อสาร ทำให้ต้องหยุดพูดระหว่างการสนทนา หรืออาจใช้คำผิดความหมายที่ยากต่อการเข้าใจ และเรียกชื่อสิ่งของไม่ถูกต้อง

4. สับสนเรื่องเวลาและสถานที่

ผู้ที่มีอาการของโรคอัลไซเมอร์จะสับสนเรื่องเวลาและสถานที่ จนหลายครั้งมักจะหลงทางในพื้นที่ที่คุ้นเคย และเดินออกจากบ้านไปโดยไม่มีจุดหมาย และลืมว่าเดินทางไปสถานที่นั้นๆ ได้อย่างไร ทำให้หาทางกลับบ้านเองไม่ได้ นอกจากนี้ยังลืมวันเวลา ลืมว่าวันนี้วันที่เท่าไหร่ เป็นวันอะไรของสัปดาห์

5. ตัดสินใจผิดพลาด ไม่อิงตามความเป็นจริง

โรคอัลไซเมอร์ทำให้ผู้ป่วยไม่อยู่กับความเป็นจริงและมีการตัดสินใจที่ผิดพลาดในหลายๆ เรื่อง เช่น ผู้ป่วยอาจแต่งตัวไม่เหมาะสม ด้วยการสวมใส่เสื้อผ้าหนาหลายชั้นในวันที่อากาศร้อน หรือสวมใส่เสื้อผ้าบางในวันที่อากาศหนาว ไปจนถึงการให้เงินผู้อื่นโดยไม่มีเหตุผล

6. ไม่สามารถคิดเชิงนามธรรมได้

ผู้ที่มีอาการของโรคอัลไซเมอร์จะไม่สามารถคิดเชิงนามธรรมได้ ทำให้ไม่สามารถทำกิจกรรมที่ใช้ความคิดซับซ้อน เช่น การคิดเลข การตีความ และการอ่านหนังสือ ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นเหตุให้ผู้ป่วยไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้

7. ลืมของไว้ผิดที่และไม่สามารถนึกย้อนไปจัดลำดับเหตุการณ์ได้

ผู้ที่มีอาการของโรคอัลไซเมอร์จะไม่สามารถคิดเชิงนามธรรมได้ ทำให้ไม่สามารถทำกิจกรรมที่ใช้ความคิดซับซ้อน เช่น การคิดเลข การตีความ และการอ่านหนังสือ ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นเหตุให้ผู้ป่วยไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้

8. อารมณ์เปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด

ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีพฤติกรรมที่แปลกไปจากเดิมและก้าวร้าวมากขึ้น เนื่องจากโรคอัลไซเมอร์มีผลกระทบต่อสภาวะอารมณ์ ทำให้หงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวน โดยสามารถเปลี่ยนจากอารมณ์ดี เป็นการร้องไห้ได้โดยไม่มีเหตุผล รู้สึกโกรธ มีอาการสับสน ซึมเศร้า วิตกกังวล หวาดระแวงคนรอบข้างและคนในครอบครัว และรู้สึกเศร้าเสียใจในบางครั้ง

9. มีปัญหาด้านการมองเห็นและสูญเสียการรับรู้ตำแหน่งของวัตถุ

ผู้ป่วยมักจะมีปัญหาด้านการมองเห็น ทำให้ไม่สามารถอ่านหนังสือและอ่านตัวเลขได้ รวมถึง ไม่สามารถกะระยะทาง และรับรู้ความแตกต่างของสี หรือมองเห็นสีเปลี่ยนไป ทำให้มีปัญหาในการขับขี่ยานพาหนะและไม่สามารถปฏิบัติตามกฎจราจรได้อย่างถูกต้อง

10. เก็บตัวและไม่อยากพบเจอผู้คน

ผู้ป่วยมักจะปลีกตัวออกจากสังคมรอบข้าง กลายเป็นคนเก็บตัว และไม่อยากพบปะเพื่อนฝูง รวมถึงหมดความสนใจในงานอดิเรกที่เคยชื่นชอบ เช่น การเล่นกีฬา การเข้างานสังคม โดยผู้ป่วยจะต้องการอยู่เฉยๆ และใช้เวลาไปกับการดูทีวีหรือการนอนหลับที่มากผิดปกติ

“ให้เราช่วยดูแลคนที่คุณรัก โทรหาเราตอนนี้”

จะทำอย่างไร เมื่อคนในครอบครัวมีอาการของโรคอัลไซเมอร์

โรคอัลไซเมอร์เป็นโรคทางสมองที่มีความซับซ้อน และจะทำให้ผู้ป่วยจะมีอาการแย่ลงเมื่อเวลาผ่านไป จากกรณีศึกษาเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม ในวารสารพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ จะเห็นได้ว่า ครอบครัวและผู้ดูแลควรขอคำปรึกษาจากแพทย์และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้การวางแผนดูแลผู้ป่วยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและครอบคลุมทุกมิติ  เพราะการให้การดูแลและการรักษาที่เหมาะสม จะช่วยชะลอการเกิดของโรค และพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับคนที่คุณรักได้

หากคนในครอบครัวของคุณมีอาการของโรคอัลไซเมอร์ตามที่กล่าวมาข้างต้น เราแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยเร็วที่สุด เพื่อรับการวินิจฉัยและรับการรักษาที่ถูกต้อง

เลือกการดูแลที่ดีที่สุดให้กับคนที่คุณรัก ที่บ้านลลิสา ศูนย์ดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์

ศูนย์ดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ บ้านลลิสา มีทีมงานผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลอาการอัลไซเมอร์อย่างใกล้ชิด

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ บ้านลลิสา ให้บริการดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ ด้วยทีมแพทย์และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญ ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกสาขาของเรา พร้อมบริการให้คำปรึกษาทางการแพทย์ประจำสัปดาห์ รวมถึง การดูแลที่ครอบคลุมทั้งด้านอาหาร และการเข้าสังคมของผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ เรายังมีนวัตกรรมการรักษาด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า TMS ที่จะช่วยชะลออาการของโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญของเราตอนนี้ และเลือกการดูแลที่ดีที่สุดให้กับคนที่คุณรัก

Content Protection by DMCA.com