ยิ่งอายุมากยิ่งดื้อ…ทำไมวัยสูงอายุถึงมีพฤติกรรมเปลี่ยนไป

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ บ้านลลิสา ตัวเลือกที่ดีที่สุดในบริการดูแลผู้สูงอายุและคนที่คุณรัก

วัยสูงอายุเรียกได้ว่าเป็นวัยที่ผ่านการใช้ชีวิตมาอย่างยาวนาน ย่อมมีความเข้าใจธรรมชาติของชีวิต มีความเป็นผู้ใหญ่ สุขุมและมีเหตุผล แต่อย่างไรก็ตามคำกล่าวนี้ไม่เป็นจริงเสมอไป เพราะผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายและจิตใจ ที่ทำให้เกิดพฤติกรรมด้านลบที่ส่งผลกระทบต่อคนรอบข้าง เช่น ขี้หงุดหงิด ดื้อ เอาแต่ใจ เรียกร้องความสนใจ จนทำให้คนในครอบครัวรู้สึกอึดอัดใจ และไม่สามารถให้การดูแลที่เหมาะสมได้ การทำความเข้าใจพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้สูงอายุจะช่วยลดการเกิดของพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์เหล่านี้ และส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดี และดำเนินชีวิตได้อย่างยาวนานมากขึ้น อ่านต่อเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้สูงอายุและวิธีรับมือได้ที่นี่

พฤติกรรมขี้หงุดหงิด​

พฤติกรรมขี้หงุดหงิดสามารถพบได้ทั่วไปในผู้สูงอายุ โดยจะแสดงพฤติกรรมเอาแต่ใจ ดื้อ ไม่ยอมรับฟังผู้อื่น และรู้สึกหงุดหงิดเมื่อไม่ได้ดั่งใจ พฤติกรรมเหล่านี้มักมีสาเหตุมาจาก:

  • การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน ในช่วงเปลี่ยนผ่านจากวัยผู้ใหญ่สู่วัยสูงอายุ หรือที่เรียกกันว่าวัยทอง ระดับฮอร์โมนในร่างกายจะลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพความแข็งแรงของร่างกาย และสภาวะทางจิตใจ ทำให้ผู้สูงอายุมีอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย ผู้หญิงจะมีอาการเด่นชัดกว่าผู้ชายเนื่องจากระดับฮอร์โมนจะลดลงเร็วกว่า โดยจะเริ่มที่อายุประมาณ 45-50 ปี หลังหมดประจำเดือน และผู้ชายจะเริ่มช้ากว่าที่อายุประมาณ 50-55 ปี
  • การเปลี่ยนแปลงของความจำ – ผู้สูงอายุมักลืมเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้น ลืมชื่อคน สถานที่ และอื่นๆ ทำให้เกิดการสื่อสารผิดพลาดที่จะทำให้เกิดความรำคาญใจ ทั้งตัวผู้สูงอายุเองและผู้ที่สนทนาด้วย หากผู้สูงอายุที่อยู่ในการดูแลแสดงอาการเหล่านี้มากขึ้น จนกระทบกับการดำเนินชีวิตประจำวัน ผู้ดูแลควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโดยด่วน เพราะอาจเป็นสัญญาณของโรคอัลไซเมอร์หรือโรคสมองเสื่อมได้
  • การสูญเสียการได้ยินและการมองเห็นไม่ชัดเจน – บ่อยครั้งที่ผู้สูงอายุอาจไม่ได้ยินเสียงหรือมองเห็นไม่ชัดเจน ทำให้ต้องพูดหรืออธิบายซ้ำๆ ซึ่งจะนำไปสู่อารมณ์หงุดหงิดฉุนเฉียวได้
  • โรคซึมเศร้า โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุมักเกิดจากความเครียด ความเหงา ความกลัวว่าจะถูกทอดทิ้ง รวมถึงอาการเจ็บป่วยทางร่างกาย การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักหรือคนใกล้ชิด และอื่นๆ อาการของโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ ได้แก่ กระวนกระวายใจ ไม่สามารถจดจ่อได้นานๆ นอนไม่หลับหรือนอนมากขึ้น รับประทานอาหารได้น้อยลง รู้สึกไร้ค่า ไม่อยากพบเจอใคร เป็นต้น ครอบครัวควรหมั่นสังเกตอาการของโรคซึมเศร้า และรีบปรึกษาแพทย์โดยเร็วที่สุด เพราะสุขภาพจิตที่ไม่ดีจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายของผู้สูงอายุ ทำให้อาการป่วยหรือโรคประจำตัวทรุดลงไปด้วย

พฤติกรรมเรียกร้องความสนใจ

ผู้สูงอายุมักมีวิธีเรียกร้องความสนใจแตกต่างกันไป บางคนอาจต้องการให้ผู้ดูแลทำหลายอย่างพร้อมๆ กัน ชอบพูดตัดพ้อ ประชดประชัน ไม่ยอมรับประทานอาหาร ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้มักมีสาเหตุมาจากความเหงา ความกลัวว่าจะถูกทอดทิ้ง การไม่มีสังคม ซึ่งจะทำให้ผู้สูงอายุขาดความมั่นใจในตัวเอง คิดว่าตนเองไม่เป็นที่รักหรือไม่มีประโยชน์ และแสดงพฤติกรรมเรียกร้องความสนใจคล้ายเด็กในที่สุด

ถึงแม้ว่าผู้สูงอายุจะแสดงพฤติกรรมเหล่านี้ ทำให้ครอบครัวลำบากใจเป็นอย่างมาก แต่สิ่งที่ครอบครัวสามารถช่วยเหลือได้คือการเอาใจใส่และความเห็นอกเห็นใจ เพราะผู้สูงอายุไม่ได้ทำไปเพราะอยากทำร้ายความรู้สึกของใคร แต่เป็นเพียงพฤติกรรมที่บ่งบอกว่าตนกำลังต้องการความรัก และความเอาใจใส่จากครอบครัวอันเป็นที่รัก

“ให้เราช่วยดูแลคนที่คุณรัก โทรหาเราตอนนี้”

วิธีรับมือกับผู้สูงอายุที่ดื้อ ขี้หงุดหงิด และเอาแต่ใจ

นอกจากปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีปัจจัยส่วนบุคคลอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมของผู้สูงอายุ เช่น การเกษียณอายุและต้องออกจากหน้าที่การงาน การที่ลูกหลานย้ายออกจากบ้าน ทำให้รู้สึกถูกทอดทิ้ง เป็นต้น การส่งเสริมให้ผู้สูงอายุรับรู้ถึงคุณค่าภายในตนเอง จึงเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยสร้างสุขภาพจิตที่ดีให้กับผู้สูงอายุ ทำให้อาการหงุดหงิดเอาแต่ใจลดน้อยลง และเป็นที่รักของคนรอบข้างมากขึ้น วิธีสร้างความมั่นใจในตนเองให้กับผู้สูงอายุ

  • – พูดคุยสอบถามสารทุกข์สุกดิบ แสดงความเป็นห่วงในเรื่องทั่วไป
  • – พาออกไปเที่ยวในที่ที่ผู้สูงอายุเคยชื่นชอบ เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศ
  • – พูดคุยขอคำปรึกษา เพื่อให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า มีความสำคัญ สามารถเป็นที่พึ่งให้กับครอบครัวได้
  • – ทำกิจกรรมร่วมกันให้มากขึ้น เช่น ปลูกต้นไม้ ทำอาหาร ดูโทรทัศน์ เลี้ยงฉลองเนื่องในโอกาสสำคัญของครอบครัว

หากลองทำทุกวิถีทางแล้วผู้สูงอายุยังมีพฤติกรรมแบบเดิม ผู้ดูแลควรหาเวลาพักผ่อนและให้ความสำคัญกับความรู้สึกของตัวเองเช่นกัน เพราะการดูแลผู้สูงอายุที่ไม่ให้ความร่วมมือ อาจทำให้เกิดสภาวะหมดไฟที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจของผู้ดูแลได้ หากรู้สึกว่าการให้การดูแลเป็นภาระหนักเกินไป ควรพิจารณาโปรแกรมการดูแลจากมืออาชีพ เพื่อช่วงแบ่งเบาภาระ และมอบการดูแลที่เหมาะสมให้กับผู้สูงอายุ

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุบ้านลลิสา เราดูแลคนสำคัญของคุณโดยมืออาชีพผู้เชี่ยวชาญ

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ บ้านลลิสา ตัวเลือกที่ดีที่สุดในบริการดูแลผู้สูงอายุและคนที่คุณรัก

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ บ้านลลิสา เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดในการดูแลคนที่คุณรักในวัยสูงอายุ เรามีโปรแกรมดูแลเฉพาะบุคคลที่ออกแบบโดยทีมแพทย์และพยาบาลมืออาชีพ เพื่อให้คนที่คุณรักได้รับการดูแลอย่างเหนือระดับตลอด 24 ชม. พร้อมทั้งการดูแลด้านโภชนาการและการรับประทานยา ผู้อยู่อาศัยจะได้ร่วมทำกิจกรรมนันทนาการหลากหลายตลอดระยะเวลาที่รับการดูแล ได้เข้าสังคม พบปะเพื่อนใหม่ ทำให้รู้สึกอบอุ่นเหมือนอยู่ที่บ้าน โทรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญของเราตอนนี้ เพื่อรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโปรแกรมดูแลคนที่คุณรัก